. . . ร่วมด้วยช่วยกันเผยแพร่สื่อสารถึง"คนเสื้อแดง"ทั่วไทยและทั่วโลก . . . ขอขอบพระคุณเจ้าของclipภาพถ่ายและบทความทุกๆท่านที่กรุณาเอื้อเฟื้อแบ่งปัน . . .น้ำใจซื้อขายไม่ได้ แต่น้ำใจให้กันได้...อิอิ
DisplayUs.com

  

. . . รณรงค์พี่น้อง"คนเสื้อแดง"77จังหวัดทั่วไทย 3กรกฎาเข้าคูหากาเบอร์1 ส.ส.เพื่อไทย และกาเบอร์1 พรรคเพื่อไทย ให้จัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียว . . .

Playlist เลือกดูได้... 200 Clip สัมภาษณ์-ปราศรัย-วิสัยทัศน์ คุณปู "ยิ่งลักษณ์...ยิ่งดู...ยิ่งรัก"
  
[คลิกที่นี่...เว็บแรงงานนอกระบบ]
  

@ ปู้นนน...!!! คนเมืองใต้เจียงใหม่ของหมู่เฮาลงไปตางปู๊นนน..... * * @ 2กุมภา..กาเบอร์ 15 ทั้ง ส.ส.เขต และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย


PlayListนี้ เริ่มต้นด้วย "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน" เรียงลำดับตั้งแต่ ตอนแรก ถึง ตอนปัจจุบัน ..ท้ายเพลย์ลิสท์เป็นคลิป "เมื่อศาลรัฐธรรมนูญกระทำขัดรัฐธรรมนูญ : จะทำอย่างไร?" วันพุธที่ 1 พฤษภาคม 2556 เวลา 13.00 - 16.00 น. ห้องกมลทิพย์ ชั้น 2 โรงแรมสุโกศล (สยามซิตี้เดิม) คลิปนี้..วิทยากร รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แสดงความคิดเห็นเริ่มนาที 0:14:24
คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...
หรือคลิกที่นี่.. @ AsiaUpdate "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน"

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554

ดูกันชัดๆๆๆๆๆ คำพิพากษาศาลฯยกฟ้อง ยึดและควบคุมอำนาจการปกครองแผ่นดิน19ก.ย.2549 แล้วผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดชอบโดยสิ้นเชิง

@ "พนัส ทัศนียานนท์" อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มธ.โต้ 15 คำถามของอธิการนาซี และ แถลงการณ์กลุ่มทนายความและนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน
@ 4 ข้อเสนอนิติราษฎร์ "ลบล้างผลพวงรัฐประหาร 19 กันยา"
@ 026 โตไปไม่โกง???
@ 61> เปิดคำวินิจฉัยผู้พิพากษาเสียงส่วนน้อย ปฏิเสธอำนาจคณะรัฐประหาร!!!!!
@ 01 คุณปูครับ...ปรับเปลี่ยนงาน ปชส.ของรัฐบาลและ ศปภ.ได้แล้ว
@ 68> นายกฯปูเฉียบขาด งัดม.31พ.ร.บ.ป้องกันฯยึดอำนาจ กทม.
@ 02 ไอ้ชาติห-มาตัวไหนใส่ร้ายนายกฯปู มานี่มาดูให้เต็มตา...
@ Pictures...Bangkok Underwater 26 October 2011
@ 77 ดูคลิปวีดีโอชัดๆ "นายกฯยิ่งลักษณ์" ยิ้มทั้งน้ำตา ไม่ท้อ(ค่ะ) ไม่ร้องไห้ ... ต้องเข้มแข็ง
@ 69> ระหว่าง นายกฯอภิสิทธิ์ กับ นายกฯยิ่งลักษณ์ ใครควรถูกตำหนิมากกว่ากัน






TheDailyDose ประจำวันที่ 3 ตุลาคม 2554

ดูกันชัดๆ คำพิพากษาศาลฯยกฟ้อง ยึดและควบคุมอำนาจการปกครองแผ่นดิน19ก.ย.2549 แล้วผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดชอบโดยสิ้นเชิง






วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2554

"พนัส ทัศนียานนท์" อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มธ.โต้15คำถามของอธิการนาซี และ แถลงการณ์กลุ่มทนายความและนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน

@ ดูกันชัดๆๆๆๆๆ คำพิพากษาศาลฯยกฟ้อง ยึดและควบคุมอำนาจการปกครองแผ่นดิน19ก.ย.2549 แล้วผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดชอบโดยสิ้นเชิง
@ 4 ข้อเสนอนิติราษฎร์ "ลบล้างผลพวงรัฐประหาร 19 กันยา"
@ 026 โตไปไม่โกง???




"พนัส ทัศนียานนท์" อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มธ.โต้15คำถามของอธิการนาซี
Wed, 2011-09-28 12:41

พนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีต สสร.รัฐธรรมนูญ 2540 และ สว. จากการเลือกตั้งสมัยแรก ตอบคำถาม 15 ประเด็นที่ ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ ตั้งคำถามต่อนักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ ที่ออกมาเสนอให้ลบล้างผลพวงแห่งการรัฐประหาร 19 กันยายน2549

โดยเขาโพสต์ข้อความดังกล่าวลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว ซึ่งประชาไทขออนุญาตนำเผยแพร่อีกครั้ง และเพื่อความสะดวกแก่ผู้อ่าน ประชาไทได้นำคำถามของ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีคนปัจจุบันของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มาเรียบเรียงในลักษณะ ถาม-ตอบ ดังนี้

1. เราสามารถยกเลิกกฎหมายที่ถูกยกเลิกไปแล้วได้หรือไม่ เช่นการยกเลิก รธน. 2549

ตอบ: นิติราษฎร์ไม่ได้เสนอให้ยกเลิก รธน.2549 แต่ให้ถือว่าการนิรโทษกรรมให้แก่ผู้ทำรัฐประหารตามมาตรา 37 ไม่เกิดผลตามกฎหมาย

2. ถ้าตำรวจจับคนร้ายที่ทำผิดจริงมาแต่ไม่ได้สอบสวนโดยละเอียด ต่อมาคนร้ายถูกฟ้องศาล มีการโต้แย้งว่ากระบวนการของตำรวจไม่ค่อยถูกต้อง แต่ศาลเห็นว่าไม่เป็นไร ศาลก็พิพากษาไป ตกลงคำพิพากษาของศาลใช้ได้หรือไม่

ตอบ: ตาม ป.วิอาญา การสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ย่อมมีผลทำให้การฟ้องคดีของอัยการไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย ซึ่งโดยหลักการพิจารณาคดีก็ต้องถือว่าไม่ชอบทั้งหมด แต่ศาลไทยบอกไม่เป็นไร หากพิจารณาว่าจำเลยกระทำผิดจริง ก็ลงโทษจำเลยได้ ซึ่งก็เหมือนกับการยอมรับว่าการรัฐประหาร(การกระทำความผิดฐานกบฏ)เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายหากทำสำเร็จนั้นเอง

3. ถ้ามีคนเห็นว่ากระบวนการยุติธรรมในช่วง คมช.ไม่ถูกต้อง ก็ให้ดำเนินการใหม่ คนอีกกลุ่มเห็นว่าการตัดสินคดีซุกหุ้น ศาลตัดสินผิดโดยสิ้นเชิง คนกลุ่มหลังจะขอให้ยกเลิก รธน.2540 ตั้งศาล รธน.ใหม่ แล้วพิพากษาคดีซุกหุ้นใหม่ จะได้หรือไม่

ตอบ: ศาลรัฐธรรมนูญที่ตัดสินคดีซุกหุ้นของทักษิณ เกิดจาก รธน.2540 ที่มิได้มีที่มาจาการรัฐประหารเหมือน รธน.2550 หากมีหลักฐานพิสูจน์ได้ว่าศาลตัดสินผิดก็น่าจะมีการออกกฎหมายมาให้รื้อฟื้นคดีใหม่ได้ โดยไม่ต้องยกเลิก รธน.2540 ซึ่งมิได้เกิดขึ้นจากการกระทำผิดกฎหมายฐานกบฏ(การทำรัฐประหาร)

4. ประชาชนจะลงมติแก้ รธน.ที่ถูกยกเลิกไปแล้วได้หรือไม่

ตอบ: เป็นคำถามประเด็นเดียวกันกับคำถามที่ 1 คำตอบก็คือไม่ใช่การแก้รัฐธรรมนูญที่ถูกยกเลิกไปแล้ว แต่เป็นการยกเลิกเพิกถอนผลของการกระทำที่เกิดจากรัฐธรรมนูญที่เป็นผลพวงของการรัฐประหารที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

5. รธน.2550 ได้รับการลงประชามติโดยประชาชน ในทางกฎหมายเราจะพูดได้หรือไม่ว่า ประชาชนลงมติโดยไม่ถูกต้อง หรือ รธน.2550 ไม่ได้ผ่านความเห็นชอบของประชาชน?

ตอบ: พูดได้ เพราะมีการหลอกลวงขู่เข็ญบังคับให้ประชาชนลงมติ จึงเป็นการลงประชามติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

6. ตั้งโดย คมช. ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองก็ตั้งโดย คมช. ใช่หรือไม่

ตอบ: คตส.ตั้งโดย คมช.แน่นอน ส่วนศาลฎีกาแผนกคดีอาญานักการเมืองก็เกิดจากรัฐธรรมนูญ 2550 ซึ่ง คมช.เป็นผู้ให้กำเนิดเช่นกัน ดังนั้น เมื่อการกระทำรัฐประหารของ คมช.เป็นการกระทำที่ละเมิดบทบัญญัติมาตรา 63 แห่ง รธน.2540 และเป็นความผิดฐานกบฏตาม ป.อาญามาตรา 113 ทั้ง คตส.และศาลฎีกาแผนกคดีอาญานักการเมืองจึงเป็นองค์กรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วยกันทั้งคู่

7. การดำเนินการตามแนวคิดของนิติราษฎร์ ไม่มีผลทางกฎหมายต่อนายกฯทักษิณเลยใช่หรือไม่

ตอบ: ตามที่คณะนิติราษฎร์แถลง มีผลโดยตรงแน่นอน คือต้องพิจารณาคดีใหม่โดยกระบวนการยุึติธรรม ที่ชอบด้วยหลักนิติธรรม ถ้ากระทำผิดจริงตามข้อกล่าวหาก็ต้องถูกลงโทษ

8. มาตรา 112 ขัดแย้งกับ รธน.จริงหรือ และขัดกับ รธน.2550 ที่จะถูกยกเลิกใช่หรือไม่

ตอบ: ป.อาญา ม.112 เท่าที่มีการตีความและใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันมีผลขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญแน่นอน เพราะเป็นการลิดรอนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนซึ้งเป็นสิทธิขั้นมูลฐานตามรธน.ของประชาชนโดยสิ้นเชิง แต่อาจไม่ขัดแย้งกับ รธน.2550 เพราะเจตนารมณ์ของผู้ร่าง(สสร.2550)ไม่ถือว่าขัดแย้งอยู่แล้ว

9. ประเทศทั้งหลายในโลกรวมทั้งเยอรมัน เขาไม่คุ้มครองประมุขของประเทศเป็นพิเศษแตกต่างไปจากประชาชนใช่หรือไม่

ตอบ: ทุกประเทศมีกฎหมายคุ้มครองประมุขของประเทศ แต่ประเทศที่เป็นประชาธิปไตยอย่างเช่นเยอรมัน อังกฤษ อเมริกา เขาถือว่าเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นของประชาชนเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามหลักนิติธรรม ประมุขของประเทศจึงอาจถูกวิพากษ์วิจารณ์ได้ หากมีการกระทำใดๆที่มีผลต่อการเมืองการปกครองของประเทศไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อม

10. ถ้ามีคนไปโต้แย้งคณะนิติราษฎร์ในที่สาธารณะเขาจะไม่ถูกขว้างปาและโห่ฮาเหมือนกับหมอตุลย์ใช่หรือไม่

ตอบ: หากท่านคิดจะไปโต้แย้งกับคณะนิติราษฎร์ ท่านอธิการก็จัดเวทีที่ธรรมศาสตร์สิครับ ผมเชื่อว่าไม่มีใครกล้าโห่ฮาท่านแน่นอน

11. ถ้าเรายกเลิกกฎหมายที่ถูกยกเลิกไปแล้วได้ เราจะล้มเลิกการกระทำทั้งหลายและลงโทษคณะรัฐประหารกี่ชุด สุจินดา ถนอม ประภาศ สฤษฏ์ จอมพล ป. อ.ปรีดี หรือจะลงโทษเฉพาะคณะรัฐประหารที่กระทำต่อนายกฯทักษิณ

ตอบ: การประกาศให้ผลของการรัฐประหาร ไม่เป็นการนิรโทษกรรมให้แก่ผู้กระทำผิดฐานกบฏ โดยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และให้ประชาชนลงประชามติตามที่คณะนิติราษฎร์เสนอ เป็นการยกเลิกการนิรโทษกรรมที่กำหนดไว้ใน รธน.2550 ไม่ใช่ยกเลิกกฎหมายที่ยกเลิกไปแล้ว ส่วนที่ถามว่าทำไมไม่ยกเลิกผลของการกระทำรัฐประหารของสุจินดา ถนอม สฤษดิ์ จอมพล ป. ปรีดี แล้วเอาตัวคนเหล่านี้มาลงโทษฐานกบฏด้วย เห็นด้วยว่าสมควรทำในสิ่งที่ยังพอกระทำได้ เช่นการให้ความช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ที่ได้รับผลร้ายจากการกระทำรัฐประหารเหล่านั้น (โดยเฉพาะผู้ที่ถูกลงโทษโดยไม่ผ่านการพิจารณาคดีตามกระบวนการยุติธรรม) แต่การนำตัวผู้กระทำรัฐประหารมาลงโทษคงกระทำไม่ได้แล้วเพราะผู้กระทำผิดส่วนใหญ่ตายไปแล้ว ที่ยังเหลืออยู่คดีก็ขาดอายุความหมดแล้ว

12. ความเห็นของนักกฎหมายที่เห็นไม่ตรงกับคณะนิติราษฎร์แต่ดีกว่าคณะนิติราษฎร์ รัฐบาลนี้จะรับไปใช่หรือไม่

ตอบ: ช่วยเสนอให้หน่อยว่าความเห็นของท่านที่ดีกว่าของคณะนิติราษฎร์ คือ อย่างไร ถ้าดีกว่าจริงจะขอสนับสนุนเต็มที่เลย ในฐานะที่เป็นนักกฎหมายด้วยกัน

13. ศาล รธน. ช่วยนายกฯทักษิณคดีซุกหุ้นถือว่าใช้ได้ แต่ไม่ช่วยคดียึดทรัพย์ถือว่าใช้ไม่ได้ เป็นตุลาการภิวัตน์ใช่หรือไม่

ตอบ: ตุลาการภิวัตน์ คือตุลาการที่ยอมตนเป็นเครื่องมือและอาวุธให้แก่ผู้มีอำนาจกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้ใช้เพื่อประหัตประหารและทำลายล้างศัตรูของตน ตุลาการศาลทั้งในคดีซุกหุ้นและคดียึดทรัพย์ทักษิณ จึงเป็นตุลาการภิวัตน์ด้วยกันทั้งสิ้น เพียงแต่ว่าในคดีซุกหุ้นตุลาการภิวัตน์เป็นฝ่ายแพ้

14. บทบัญญัติว่าด้วยสิทธิเสรีภาพของประชาชนตาม รธน.2550 แย่กว่า รธน.2540, 2475 ที่คณะนิติราษฎร์จะนำมาใช้ใช่หรือไม่

ตอบ: บทบัญญัติว่าด้วยสิทธิเสรีภาพตาม รธน.2550 และฉบับอื่นทุกฉบับไม่มีความหมายอะไรเลย ไม่มีฉบับใดดีกว่ากัน เพราะตราบใดที่ตุลาการไทยยังยอมรับว่ารัฏฐาธิปัตย์คือผู้ที่ได้อำนาจอธิปไตยมาโดยรถถังและปืนและอำนาจอธิปไตยไม่ใช่อำนาจของประชาชน

15. คมช. เลว สสร.ที่มาจาก คมช.ก็เลว รธน.2550 ที่มาจาก สสร.ก็เลว แต่รัฐบาลที่มาจาก รธน.เลว เป็นรัฐบาลดีใช่หรือไม่ สสร.ที่มาจากรัฐบาลชุดนี้ และที่ อ.วรเจตน์จะเข้าร่วม ก็เป็น สสร.ที่ดีใช่หรือไม่

ตอบ: ไม่ใช่เรื่องใครดีใครเลว แต่เป็นเรื่องของหลักการในทางนิติศาสตร์ ที่จะต้องมีการยืนยันว่าระหว่างอำนาจรัฐกับเสรีภาพของประชาชนและระหว่างระบอบเผด็จการกับระบอบประชาธิปไตย นักกฎหมายควรจะยืนอยู่ข้างใดมากกว่า

เขียนโดย JJ_Sathon
http://www.go6tv.com/2011/09/15.html
วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2554

บทสัมภาษณ์จาตุรนต์ ฉายแสง วิพากษ์การเมือง 27ก.ย.2554

แถลงการณ์กลุ่มทนายความและนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน คัดค้านแถลงการณ์สภาทนายความ
Facebook: Ann Paw เมื่อ 28 กันยายน 2011 เวลา 17:08 น.

แถลงการณ์กลุ่มทนายความและนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน

เรื่อง คัดค้านแถลงการณ์สภาทนายความฉบับที่ 2/2554

อ้างถึง แถลงการณ์สภาทนายความฉบับที่ 2/2554 ลว. 27 กันยายน 2554

ตามที่สภาทนายความได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 2/2554 ขอแสดงความคิดเห็นต่อข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฎร์ ความละเอียดปรากฏตามที่อ้างถึงนั้น

กลุ่มทนายความและนักกฎหมายดังปรากฏรายนามท้ายแถลงการณ์นี้ ซึ่งเป็นสมาชิกสภาทนายความ ตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2548 และนักกฎหมายที่ทำงานด้านการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย มีความวิตกกังวลต่อสาระสำคัญของแถลงการณ์ดังกล่าว ที่อาจนำความเสื่อมเสียต่อเกียรติภูมิของทนายความโดยรวม โดยเหตุที่สภาทนายความมี 2 สถานภาพทางสังคมกล่าวคือ

สภาทนายความเป็นสถาบันวิชาชีพที่ออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ที่จะเป็นทนายความ ซึ่งทนายความถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการยุติธรรมในการดำเนินการเพื่อส่งเสริมหลักนิติธรรม (Rule of Law) ร่วมค้นหาความจริงกับอัยการและผู้พิพากษาต่อการกระทำของผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา เพื่อนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกฎหมาย และยังมีหน้าที่ "ผดุงไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ และปฏิบัติตน ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติทนายความ" อีกสถานภาพหนึ่ง

สภาทนายความพึงเป็นสถาบันของสังคมในการส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตย, สภาทนายความเป็นแถวหน้าของผู้เรียกร้องการปกครองระบอบประชาธิปไตย ต่อต้านอำนาจนิยมและผลักดันให้มีกฎหมายที่ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน, สภาทนายความจึงเป็นสถาบันของผู้ประกอบวิชาชีพทนายความและเสาหลักหนึ่งในสังคมประชาธิปไตย, สภาทนายความจึงต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เหมาะสมแก่เกียรติภูมิของสมาชิกและประชาชนในสังคมประชาธิปไตย, สภาทนายความต้องยึดมั่นในหลักการสำคัญของหลักนิติธรรม หลักสิทธิมนุษยชน และร่วมกันจรรโลงไว้ซึ่งหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันนานาอารยประเทศยึดถือด้วย แต่จากแถลงการณ์ของสภาทนายความ ตามที่อ้างถึง กลุ่มทนายความฯ ขอแสดงความคิดเห็น ดังนี้

ข้อ 1 แถลงการณ์ของสภาทนายความ ข้อ 1 กล่าวว่า "สภาทนายความไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหารที่ล้มล้างรัฐบาลที่ใช้อำนาจบริหารโดยชอบธรรม ....สำหรับการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ...สภาทนายความไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลที่ใช้อำนาจบริหารในขณะนั้นได้ใช้อำนาจเงินครอบงำพรรคการเมืองอื่น จนสามารถรวบรวมเป็นพรรคการเมืองที่มีอำนาจเด็ดขาดในรัฐสภา ใช้อำนาจบริหาร และอำนาจเงินครอบงำสื่อสารมวลชน และองค์กรอิสระ จนทำให้การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐไม่บรรลุผลตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย และมีการทุจริต ประพฤติมิชอบ เพื่อหาประโยชน์แก่ตนเอง และพวกพ้อง จนกระทั่งเป็นเหตุให้มีการรัฐประหาร"

กลุ่มทนายความและนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน มีความเห็นว่า "การรัฐประหารทุกครั้งถือเป็นการทำลายหลักนิติธรรมและทำลายกลไกของระบอบประชาธิปไตย" ที่ทุกฝ่ายในสังคมต้องออกมาประณามการกระทำที่ไร้เกียรติ ไร้สติ และมิอาจอ้างมูลอันชอบด้วยหลักการใดๆ ในสังคมรัฐเสรีประชาธิปไตยได้ และต้องถือว่า "การรัฐประหาร" ถือเป็นอาชญากรรมต่อประชาธิปไตยและความมั่นคงของรัฐ ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113 ทั้ง ผู้ก่อการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุน ต้องรับผิดร่วมกันหรือแทนกันตามความหนักเบาแห่งการกระทำ โดยไม่มีข้อยกเว้น

แต่ตามแถลงการณ์ดังกล่าวการที่สภาทนายความยอมรับการรัฐประหาร เมื่อ 19 กันยายน 2549 โดยอ้างว่า หากรัฐบาลฉ้อฉล ใช้อำนาจโดยมิชอบ ก็สามารถให้อำนาจนอกระบบล้มล้างรัฐธรรมนูญและรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนได้ ซึ่งเท่ากับสภาทนายความสนับสนุนอาชญากรรมต่อความมั่นคงของรัฐและระบอบประชาธิปไตย

ข้อเสนอของสภาทนายความ ในข้อนี้ กลุ่มทนายความและนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน มีความเห็นว่า เป็นการทำลายหลักนิติธรรม และระบอบประชาธิปไตย อันนำความเสื่อมเสียมาสู่เกียรติภูมิของสภาทนายความ

ข้อ 2 แถลงการณ์สภาทนายความที่เห็นว่า การแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน (คตส.) ได้ดำเนินการไปตามกระบวนการยุติธรรมปกติ คือ เมื่อ คตส. สอบสวนเสร็จแล้ว ต้องส่งแก่อัยการสูงสุด และนำไปสู่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในที่สุด นั้น กลุ่มทนายความและนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน เห็นว่า ที่มาของ คตส. มาจากการการแต่งตั้งของคณะรัฐประหาร หรือ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ในขณะนั้น คมช. ถือเป็นองค์กรของอาชญากร ที่ยึดอำนาจโดยมิชอบมาจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง คมช.จึงไม่มีอำนาจในการปกครองประเทศมาตั้งแต่ยึดอำนาจแล้ว ดังนั้น การแต่งตั้งบุคคลหรือคณะบุคคลให้ดำเนินการใด ตามอำนาจที่ได้มาโดยมิชอบ ย่อมไม่มีผลทางกฎหมาย เทียบเคียงได้กับภาษิตกฎหมายที่ว่า "ผลของต้นไม้พิษ (Fruit of the poisonous tree) ย่อมมีพิษ" การดำเนินการของ คตส. โดยมาจากต้นไม้ที่ไม่ชอบ คตส.ย่อมเป็นผลไม้ของต้นไม้ที่ไม่ชอบ จึงไม่มีอำนาจดำเนินการใดๆ ดังนั้น จึงไม่ต้องพิจารณาต่อไปว่า คตส. ได้ดำเนินกระบวนการตามกระบวนการยุติธรรมปกติ หรือไม่ เพราะมีที่มาโดยมิชอบ

ประการต่อมา นายกสภาทนายความ (นายสัก กอแสงเรือง) มิอาจอ้างเหตุผลข้อนี้มาอ้างความชอบธรรมในแถลงการณ์ของสภาทนายความได้ เพราะนายกสภาทนายความมีผลประโยชน์ทับซ้อน จากการได้รับการแต่งตั้งจาก คมช. ให้เป็นหนึ่งในกรรมการ คตส. การปกป้องตนเองที่ทำหน้าที่ โดยมีที่มาจากการแต่งตั้งโดยมิชอบ อาจทำความเสื่อมเสียแก่เกียรติภูมิของทนายความโดยรวม และไม่เป็นแบบอย่างที่ดีแก่อนุชนทนายความรุ่นหลัง

ข้อ 3 สภาทนายความไม่เห็นด้วยกับการเสนอให้แก้ไข มาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ว่าด้วยความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ นั้น กลุ่มทนายความและนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน เห็นว่า สภาทนายความจำเป็นต้องแสดงจุดยืนในการเคารพต่อหลักนิติธรรม เนื่องจากมีการใช้กฎหมายข้อหานี้ ทำลายผู้มีความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างจากตน และเป็นการให้อำนาจแก่ใครก็ได้ในการแจ้งความดำเนินคดีบุคคลอื่น โดยอาศัยกฎหมายข้อหานี้ การแก้ไขสาระสำคัญของกฎหมายอาญา มาตรา 112 ย่อมไม่เป็นการกระทบกระเทือนต่อประเพณีของชาติ หรือขัดแย้งต่อประวัติศาสตร์หรือขนบธรรมเนียมของประเทศ หรือเป็นการลดเกียรติยศของพระมหากษัตริย์แต่ประการใด

ตรงกันข้าม การใช้กฎหมายมาตรา 112 ในปัจจุบัน กลับกลายเป็นการทำลายพระเกียรติ และทำให้สถานะของสถาบันพระมหากษัตริย์เสื่อมถอยลงอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในสังคม ขณะเดียวกัน การใช้กฎหมายอาญามาตรา 112 ย่อมนำมาซึ่งความขัดแย้งระหว่างประชาชนในสังคมไทย ซึ่งควรได้รับการพิจารณาอย่างจริงจัง

กลุ่มทนายความและนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน ขอแสดงความคิดเห็นดังกล่าว เพื่อแสดงจุดยืนว่า สังคมใดจะเป็นสังคมที่เจริญและสงบสุขได้นั้น สถาบันต่างๆในสังคมต้องยึดมั่นต่อ หลักนิติธรรม สิทธิมนุษยชน และเคารพต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยต้องร่วมกันแสดงความคิดเห็นคัดค้านอำนาจที่มิชอบ เช่น การรัฐประหาร ดังเหตุผลข้างต้น และขอเรียกร้องให้สภาทนายความ ในฐานะสถาบันหลักสถาบันหนึ่งของสังคม จงเป็นที่พึ่งแก่คนยากไร้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมตามกฎหมาย และเป็นสถาบันที่ธำรงไว้ซึ่ง หลักนิติธรรม สิทธิมนุษยชน และหลักประชาธิปไตย ตลอดไป

ณ วันที่ 28 กันยายน 2554

ลงชื่อ
นางสาวเยาวลักษ์ อนุพันธุ์ ทนายความ
นางสาวส.รัตนมณี พลกล้า ทนายความ
นายศราวุฒิ ประทุมราช นักกฎหมาย
นางสาวพูนสุข พูนุสขเจริญ ทนายความ
นายพนม บุตะเขียว ทนายความ
นางสาวภาวิณี ชุมศรี ทนายความ
นายอานนท์ นำภา ทนายความ
นางสาววราภรณ์ อุทัยรังษี ทนายความ
นายสนธยา โคตปัญญา นักกฎหมาย
นางสาวศิริกาญจน์ เจริญศิริ นักกฎหมาย
นายจุลศักดิ์ แก้วกาญจน์ นักกฎหมาย
นางสาวเกศรินทร์ เตียวสกุล นักกฎหมาย

วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554

4 ข้อเสนอนิติราษฎร์ "ลบล้างผลพวงรัฐประหาร 19 กันยา"

สารถึงผู้อ่าน - ข้อเสนอฯ ของนิติราษฏร์ยืนอยู่บนหลักการแห่งกฎหมาย
::: ประกาศนิติราษฏร์ ::: 26 January 12

ภายหลังจากคณะนิติราษฎร์เข้าร่วมงานเปิดตัว "คณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112" (ครก. 112) ในวันที่ 15 มกราคม 2555 เพื่ออธิบายรายละเอียดของ ข้อเสนอให้แก้ไขมาตรา 112 เพื่อประโยชน์ต่อการรวบรวมรายชื่อเสนอร่างกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 112 ฉบับที่คณะนิติราษฎร์จัดทำขึ้น เข้าสู่รัฐสภา และภายหลังจากที่คณะนิติราษฎร์จัดงาน อภิปราย "ลบล้างผลพวงรัฐประหาร - นิรโทษกรรม - ปรองดอง" ขึ้นเองในวันที่ 22 มกราคม 2555 เพื่อเสนอรูปแบบองค์กร และกรอบเนื้อหารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ได้เกิดกระแสเสียงจากสังคมทั้งที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย แต่ปรากฏว่าคำวิพากษ์วิจารณ์ของฝ่ายไม่เห็นด้วยจำนวนมาก ไม่ได้ตั้งอยู่บนเนื้อหาและหลักวิชาการ แต่มุ่งโจมตีและกล่าวหาตัวบุคคลโดยไร้เหตุผลและพยานหลักฐาน หลายกรณีมีการบิดเบือนข้อเท็จจริงและหลักกฎหมาย จนอาจทำให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจผิดพลาดคลาดเคลื่อน

คณะนิติราษฏร์ขอแจ้งให้ประชาชนที่เห็นด้วยกับข้อเสนอฯ ทราบและสบายใจว่า ข้อเสนอฯ ทุกข้อเสนอของคณะนิติราษฏร์ เป็นเรื่องที่วางอยู่บนหลักวิชาการและอำนาจตามกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเสนอให้แก้ไข มาตรา 112 นั้น ไม่ถือเป็นความผิดใด ๆ ทั้งสิ้น มาตรา 112 มีสถานะเป็นเพียงบทบัญญัติแห่งกฎหมายอาญามาตราหนึ่งเท่านั้น จึงย่อมเป็นสิทธิและอำนาจโดยชอบธรรมตามรัฐธรรมนูญ ที่ประชาชนผู้เห็นปัญหาของมาตรานี้จะเข้าชื่อเสนอให้รัฐสภา ซึ่งเป็นเพียงตัวแทนประชาชนเจ้าของอำนาจที่แท้จริง ปรับปรุงแก้ไขเสีย

การรวบรวมรายชื่อจะคงดำเนินต่อไป ไม่ยุติ จนกว่าจะครบ 10,000 ชื่อตามกฎหมาย (หรือมากกว่านั้น) โดยแม่งานผู้รวบรวม คือ คณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 (ครก. 112) ทั้งนี้ ผู้เห็นด้วยและประสงค์ลงชื่อ สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่นี่ โดยคลิ๊ก แบบฟอร์ม ข.ก.๑ กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน แนบ 1) สำเนาบัตรประชาชน และ 2) สำเนาทะเบียนบ้าน (ที่มีการเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องทั้งสองฉบับ) ส่งไปรษณีย์ไปที่ "คณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 ตู้ปณ.112 ปณฝ.ราชดำเนิน กรุงเทพฯ 10200"

ท่านสามารถดูรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับ ขั้นตอนการกรอกข้อมูล สถานที่รับและส่งเอกสารแบบฟอร์มของศูนย์ในต่างจังหวัด (เชียงใหม่ ขอนแก่น และอื่น ๆ) รวมทั้ง กิจกรรมแคมเปญรณรงค์ต่อเนื่องเพื่อรับลงชื่อ โดย ครก. 112 เพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซท์ http://www.ccaa112.org/contact-us.html หรือ ทาง Facebook https://www.facebook.com/ccaa112

คณะนิติราษฎร์ : นิติศาสตร์เพื่อราษฎร.
http://www.enlightened-jurists.com/

คลิป ครก.112 & เสวนา "ปรากฏการณ์ 112 ริกเตอร์" มธ.ท่าพระจันทร์
วันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม 2555 ณ หอประชุมศรีบูรพา ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
@ โหลดคลิป...ถ่ายทอดสดโดย ทีมม้าเร็ว .mp3 >> ม้วนเดียวจบ
นาทีที่ 00:00:00 ครก.112 แถลง
นาทีที่ 02:42:00 เสวนา "ปรากฏการณ์ 112 ริกเตอร์"
- ชาญวิทย์ เกษตรศิริ นักวิชาการอิสระ
- นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการอิสระ
- วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติราษฎร์
- พวงทอง ภวัครพันธุ์ ดำเนินรายการ
พิธีกรตลอดรายการ วันรัก สุวรรณวัฒนา คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์

คลิกที่ภาพ...เพื่อดูขนาดที่ใหญ่ขึ้น

ลืมกันหรือยัง...เมื่อ"กบฏ"ออกกฎหมายอภัยโทษให้ตัวเอง

หลัง 19 กันยายน 2549 สิ่งแรกที่ คปค. ประกาศคือ ให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนเสีย

แล้วใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราว มาตราที่สำคัญอย่างยิ่งคือ มาตรา 36 และ มาตรา 37

ในสถานการณ์ปัจจุบันขอยกแค่ มาตรา๓๗ มาให้เปรียบเทียบ

"มาตรา 37 บรรดาการกระทำทั้งหลายซึ่งได้กระทำเนื่องในการยึด และควบคุมอำนาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ 19 กันยายน พุทธศักราช 2549 ของหัวหน้า และคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รวมตลอดทั้งการกระทำของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำดังกล่าวหรือของผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหรือคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอันได้กระทำไปเพื่อการดังกล่าวข้างต้นนั้น

การกระทำดังกล่าวมาทั้งหมดนี้ไม่ว่าเป็นการกระทำเพื่อให้มีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ รวมทั้งการลงโทษและการกระทำอันเป็นการบริหารราชการอย่างอื่น ไม่ว่ากระทำในฐานะตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำหรือผู้ถูกใช้ให้กระทำ และไม่ว่ากระทำในวันที่กล่าวนั้นหรือก่อน หรือหลังวันที่กล่าวนั้น หากการกระทำนั้นผิดต่อกฎหมาย ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิด และความรับผิดโดยสิ้นเชิง"

* * * * *

อ่านกี่ครั้งกี่ครั้งผมก็อดสำลักความอยุติธรรมไม่ได้ เสมือนใครสักคนอัดกรวดทรายยัดลงลำคอทุกที

จริงๆแล้ว มาตรานี้เปรียบดั่งคำสารภาพผิดดีๆนี่เอง

ไหนอ้างว่าต้องทำเพื่อแก้ไขบ้านเมืองให้พ้นจากภัยพิบัติ เมื่อทำความดีแล้วจะผิดได้อย่างไร

แล้วใยจึ่งออกกฎหมายอภัยโทษให้ตนเอง?????

วิถีชน prachatalk.com 17พ.ย.2554

* * * * *

เขาเอามายัดไว้ใน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เรียบร้อยแล้วครับ ไม่ใช่แค่ประกาศ คปค.อย่างเดียว โดยยกเอา ฉบับชั่วคราว มารับรองถาวรจนถึงวันนี้

มาตรา 309 บรรดาการใดๆที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีดังกล่าวไม่ว่าก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ให้ถือว่าการนั้นและการกระทำนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
มีชัย ฤชุพันธุ์

@ ดูกันชัดๆๆๆๆๆ คำพิพากษาศาลฯยกฟ้อง ยึดและควบคุมอำนาจการปกครองแผ่นดิน19ก.ย.2549 แล้วผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดชอบโดยสิ้นเชิง
@ "พนัส ทัศนียานนท์" อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มธ.โต้ 15 คำถามของอธิการนาซี และ แถลงการณ์กลุ่มทนายความและนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน
@ 026 โตไปไม่โกง???
@ "วรเจตน์" ฝ่าศึกสหบาทา: ร้องว่าผมเนรคุณ แต่คุณยืนให้สูงเพื่อบอกว่าจงรักภักดี โดยเหยียบหัวผมขึ้นไป





คลิกที่นี่...ดาวน์โหลดแถลงการณ์

แถลงข่าว กรณีข้อเสนอให้ลบล้างผลพวงจากรัฐประหาร โดยกลุ่มนิติราษฎร์ วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน 2554

4 ข้อเสนอนิติราษฎร์ "ลบล้างผลพวงรัฐประหาร 19 กันยา"
รายการ Intelligence วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน 2554
1...

ครบรอบ 5 ปี รัฐประหาร 19 กันยายน ปีนี้มีการจัดกิจกรรมกันอย่างคึกคักโดยเฉพาะเวทีเสวนาทาง วิชาการ หนึ่งในเวทีที่ได้รับความสนใจมาก คือ การออกแถลงการณ์ 5 ปีรัฐประหาร 1 ปีนิติราษฎร์ ของคณะนักวิชาการจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักวิชาการด้านกฎหมาย ในนามกลุ่มนิติราษฎร์

อ.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ จากกลุ่มนิติราษฏร์ ได้ชี้แจงถึง การเกิดขึ้นของคณะนิติราษฎร์ บทบาทของนิติราษฎร์ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ไฮไลท์ของแถลงการณ์คณะนิติราษฎร์ในโอกาสนี้ คือ ข้อเสนอ 4 ประเด็น

ข้อเสนอแรก คือ การลบล้างผลพวงจากรัฐประหาร กันยายน ด้วยการประกาศความเสียเปล่าของบรรดาคำวินิจฉัย และคำพิพากษาที่เกิดจากการริเริ่มกระบวนการโดยคณะรัฐประหารอบ คณะนิติราษฎร์ธรรมศาสตร์ นักวิชาการกลุ่มนี้้ แต่ไม่ใช่การนิรโทษกรรม หรือไม่ใช่การอภัยโทษ หรือ การล้างมลทินแค่ผู้ถูกกล่าวหา

ข้อเสนอที่สอง คือ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ให้คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย จัดให้มีการรับฟังความเห็นประชาชน

ข้อเสนอที่สาม คือ การเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายภายหลังรัฐประหาร 19 กันยา อำนวยความยุติธรรมให้ทุกฝ่าย

ข้อเสนอที่สี่ คือ การยกเลิกรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 แล้วจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยใช้รัฐธรรมนูญหลายฉบับมาเป็นต้นแบบ เช่น รธน.ปี 2475 2489 2540

2...


แขกรับเชิญ อ.ปิยบุตร แสงกนกกุล

มารู้จัก ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์

"อ.วีระ"แนะคนโทรเข้ารายการ-ให้ค้นคว้าข้อมูลก่อนด่า"นิติราษฎร์"

เมื่อ 1 ก.พ.2555 ที่ผ่านมา ในรายการ "คุยได้คุยดี Talk News & Music" ทางคลื่น 96.5 MHz อสมท. ดำเนินรายการโดยนายวีระ ธีระภัทรานนท์ หรือ "อาจารย์วีระ" ช่วงหนึ่งได้มีผู้โทรศัพท์เข้ามาแสดงความเห็นในเชิงตำหนิและระบุว่าต้องการจะทำร้ายกลุ่มนิติราษฎร์

ทำให้นายวีระรีบตัดบท และถามผู้ที่โทรศัพท์เข้ามาว่ารู้จักกลุ่มนิติราษฎร์หรือไม่ว่าสมาชิกประกอบด้วยใคร และถามด้วยว่ารู้ข้อความในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หรือไม่ และยังแนะนำให้กลับไปค้นคว้าข้อมูลจะได้มีพื้นฐานในการแสดงความรู้สึก ก่อนวางสาย

โดยท้ายรายการนายวีระระบุด้วยว่าการเคลื่อนไหวแก้ไขมาตรา 112 อยู่ในประมวลกฎหมายอาญาไม่ใช่รัฐธรรมนูญ และประมวลกฎหมายอาญามาตราดังกล่าวเคยมีการแก้ไขมาแล้วในปี 2519

"คุณอยากรู้ คุณก็ไปหาความรู้สิครับ คุณจะมานั่งคิดเอาเองทำไม ถ้าคุณไม่แสวงหาข้อเท็จจริง แล้วคุณจะมีพื้นฐานในการแสดงความรู้สึกหรือ เดี๋ยวคุณฟันคอผิดคนนะ" นายวีระกล่าวตอนหนึ่งกับผู้ที่โทรศัพท์เข้ามาในรายการ

สำหรับรายละเอียดการสนทนาระหว่างนายวีระกับผู้โทรศัพท์เข้ามาแสดงความคิดเห็น มีดังต่อไปนี้



เปิดใจหมดเปลือก "วรเจตน์ ภาคีรัตน์" ถึง (บวรศักดิ์ อุวรรณโณ?): ผมกำลังตอบแทนบุญคุณทุนอานันทมหิดล
สัมภาษณ์ : พันธวิศย์ เทพจันทร์

หลังจากที่ “นิติราษฎร์” แถลงการณ์เรื่อง การแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 วันที่ 15 มกราคม 2555

จนไปถึงการออกแถลงการณ์ลบผลพวงที่เกิดขึ้นจากการรัฐประหาร วันที่ 22 มกราคม 2555

แรงสะท้อนกลับจากข้อเสนอร้อนๆ รุนแรงอย่างไม่น่าเชื่อ

ฝ่ายที่เห็นด้วยก็มาก ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยก็โผล่ออกมาไม่น้อย

แต่ที่ดุเดือดแบบสุดๆ คือ การปรากฏตัวของมวยรุ่นใหญ่อย่าง “ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ” เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ

ดร. ปื๊ด ตั้งสเตตัสในเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า

“ผมว่าก่อนจะแก้ไขรัฐธรรมนูญตามที่พวกคุณเสนอ ควรแก้ข้อบังคับทุนอานันทมหิดล ให้ผู้รับทุนสาบานว่าจะไม่เนรคุณและไม่ทรยศต่อพระมหากษัตริย์ผู้พระราชทานทุนจะง่ายกว่าไหม ข้อเสนอผมไม่ต้องแก้รัฐธรรมนูญเลย”

ครั้งหนึ่ง ดร.ปื๊ด เคยกล่าวยกย่อง ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ว่าเป็นนักกฎหมายรุ่นใหม่ที่น่าจับตามอง

แต่วันนี้ ข้อหา"เนรคุณ"ดูจะกลายเป็นข้อหาฉกรรจ์ไปเสียแล้ว

ก่อนหน้านี้ มติชนออนไลน์ เคยถามคำถามทำนองเดียวกันนี้กับ “วรเจตน์ ภาคีรัตน์” มาแล้ว

“สิ่งที่อาจารย์ทำอยู่นั้นไม่ขัดแย้งกับทุนที่อาจารย์เคยได้รับเพื่อไปศึกษาต่อในต่างประเทศรึเปล่า”

ไปฟังคำตอบกันเลย...

เหตุใดนิติราษฎร์จึงต้องพูดถึงสถานะของสถาบันพระมหากษัตริย์ในสังคมมากขึ้น

วันนี้ยุคสมัยมันเปลี่ยนไปเยอะ แล้วการพูดเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ก็ค่อนข้างเสี่ยงในสังคมไทย แต่ว่าวันนี้ไม่ว่ามองไปทางไหนก็ไม่เห็นพอมีใครที่จะหยิบจับเรื่องนี้มาทำได้อย่างเป็นวิชาการ เป็นเหตุเป็นผล ผมจึงตัดสินใจทำ และทำทุกอย่างด้วยความปรารถนาดีต่อสังคมไทย ด้วยความหวังดีอย่างที่สุดต่อสถาบันฯ ไม่มีความมุ่งหมายต่อการที่จะล้มล้างสถาบันฯ แต่อย่างใด อีกอย่างหนึ่งคือคนที่กล่าวหาว่าล้มเจ้าหรือล้มล้างสถาบันฯ นั้น ส่วนใหญ่ก็จะไม่ให้เหตุผลในการโต้แย้งสักเท่าไหร่ เรายืนยันตลอดมารวมถึงในร่างแก้ไขก็ชัดเจนว่าเราอยู่ในรัฐที่เป็นราชอาณาจักร เพียงแต่ต้องทำให้สถาบันฯ สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตย พอมีคนที่ไม่สามารถใช้เหตุผลถกเถียงได้ ก็เบี่ยงประเด็นไปถามว่า นิติราษฎร์ต้องการปกครองแบบไหน ตอนไปรายการ “ตอบโจทย์” คุณภิญโญก็ถาม ผมว่าผมก็ตอบชัดว่า นิติราษฎร์ยึดถือการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในรัฐที่อยู่เป็นราชอาณาจักร ผมก็สงสัยว่าคนที่ถามผมต้องการการปกครองในระบอบไหนครับ ต้องการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อย่างงั้นหรือ ซึ่งถ้าเป็นระบอบนี้ เราจะไม่มีการยอมรับ เราจะสู้ไม่ยอมย้อนกลับไปในระบอบนั้นแล้ว เพราะสุดท้ายแล้วเมื่อสังคมเข้าสู่จุดแตกหักทางความคิด สถาบันฯ ก็จะดำรงอยู่อย่างยากลำบาก ดังเช่น ช่วงก่อนและหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองปี 2475 สุดท้ายการกลับไปในระบอบนั้นสถาบันพระมหากษัตริย์จะทำการใดๆ พระมหากษัตริย์จะทำการใดต่างๆ ในทางกฎหมาย พระองค์ก็ต้องรับผิดชอบในทางกฎหมายนั้นด้วย ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในทางการเมือง เราอยากให้เป็นแบบนั้นหรือ ระบอบที่เรารณรงค์อยู่ในตอนนี้เป็นระบอบที่สอดคล้องกับสากลที่สุด

อาจารย์รู้สึกอย่างไรที่มักโดนฝ่ายตรงข้ามถามว่า “ล้มเจ้ารึเปล่า” เพราะอาจารย์เองก็เป็นคนไทย อีกทั้งยังพูดและคิดตามกรอบของกฎหมาย

ก็รู้สึกว่าบางทีคนก็ไม่เข้าใจ และก็ต้องอดทนในการอธิบาย ซึ่งผมก็ใช้ความอดทนตลอดมาในระยะเวลาหลายปี พยายามอธิบายให้สังคมได้รับฟัง เราต้องเข้าใจว่าสังคมมันเปลี่ยนไปมากแล้ว มันไม่เหมือนเดิมแล้ว คนที่ไม่เข้าใจในข้อเสนอของนิติราษฎร์คือไม่เข้าใจสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคม จะยึดจะเอาสังคมให้อยู่ในรูปแบบเดิมซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ แล้วผมห่วงเหลือเกินว่าหากไม่มีการเปลี่ยนอะไรให้มันรับกับสภาพการณ์ มันจะเกิดการแตกหักแล้วสิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาหลังจากนั้นเป็นสิ่งที่เราทุกคนไม่พึงปรารถนาแล้วเราคาดไม่ถึงว่ามันจะเกิดอะไรขึ้นมา

มีประวัติศาสตร์อยู่แล้วใช่ไหมที่เหตุการณ์แบบนี้ไม่มีความประนีประนอมกัน

ในประวัติศาสตร์โลกก็เป็นบทเรียนให้เราอยู่แล้ว ทำไมเราต้องไปซ้ำรอยในที่อื่น ทำไมเราไม่หาทางออกแล้วเปลี่ยนผ่านสังคมไปอย่างสันติ สถาบันฯไหนต้องอยู่กับกฎหมายแบบไหน องค์กรไหนต้องอยู่กับกฎหมายแบบไหน ผมเรียนแบบนี้ว่าคนที่พูดเรื่องนี้ต้องลดละประโยชน์ส่วนตัวไว้เสียก่อน คนที่เคยได้ประโยชน์หลังการรัฐประหารครั้งที่ผ่านมา กรุณาคิดและก็วางประโยชน์ส่วนตัวหน่อย หลายคนก็ได้รับประโยชน์ไปมากแล้ว เป็นประธานกรรมการ ดำรงตำแหน่ง ได้รับเงินมากมายแล้ว นิติราษฎร์ไม่เคยได้รับประโยชน์อะไรจากสิ่งที่ได้นำเสนอออกไปแม้แต่บาทเดียว เราทำด้วยใจ หลายคนในกลุ่มนิติราษฎร์ก็ไม่ได้เป็นคนมีฐานะสูง แต่ว่าเวลาจะทำอะไรเราก็ลงขันกันครับ อาจจะครั้งละหนึ่งพันเพื่อทำกิจกรรม แผ่นพับและอื่นๆ ในการจัดเวทีเสวนา มีหลายคนจะบริจาคเงินให้กิจกรรมที่นิติราษฎร์ทำ ผมไม่ต้องการเงินของใครทั้งสิ้น ไม่ใช่เพราะนิติราษฎร์มีเงินแต่เราต้องการให้เรื่องที่รณรงค์อยู่นั้นเป็นเรื่องที่บริสุทธิ์และเป็นเรื่องทางวิชาการจริงๆ

เมื่อต้องการจะให้สถาบันมีสถานะที่สอดคล้องกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย เหตุใดจึงเริ่มที่การขอยื่นแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นเรื่องแรก

เป็นเพราะว่ากฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นกฎหมายที่กระทบสิทธิเสรีภาพของประชาชนมากกว่าเรื่องอื่นๆที่จะต้องพูดกันต่อไป เวลานำออกมาบังคับใช้มันมีคนถูกจับ ถูกลิดรอนเสรีภาพ ปัญหาสำคัญของมาตรานี้คือ ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปี 2475 กฎหมายหมิ่นฯ เขียนว่า “กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้วจึงเขียนว่า “หมิ่นประมาทองค์พระมหากษัตริย์” แม้ถ้อยคำจะเขียนแบบเดียวกันเลย แต่เวลาจะมาบังคับใช้นั้นจะตีความแบบเดียวกันไม่ได้เพราะว่าอุดมการณ์ที่กำกับตัวบทกฎหมายนั้นอยู่คนละประเภทกัน แต่ปัจจุบันการตีความกฎหมายหมิ่นฯ ดูจะขัดแย้งกับระบอบการปกครองระบอบประธิปไตย ซึ่งแบบนี้มันจะเกิดผลเสียเพราะมันไม่รับกับตัวระบอบ

กระแสสังคมส่วนหนึ่งบอกว่าการที่นิติราษฎร์แยกกฎหมายอาญามาตรา 112 ออกจากหมวดความมั่นคง เท่ากับกำลังทำให้สถานะของสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่มั่นคงหรือไม่

ตัวบทกฎหมายเขียนชัดเจนว่า คนที่กระทำความผิดก็ต้องได้รับโทษตามข้อกฎหมาย ยังมีการคุ้มครองพระเกียรติของพระมหากษัตริย์อยู่ แล้วก็คุ้มครองเป็นพิเศษมากกว่าประชาชนทั่วไป เพียงแต่เราทำให้สถานะของสถาบันฯ มีความเป็นสากลมากขึ้นตามประเทศที่มีประมุขของรัฐคือพระมหากษัตริย์ เวลาเราพูดว่าต้องรักษาความมั่นคงของสถาบันฯ ไว้ เราต้องหมายถึงการรักษาให้สง่างามตามมาตรฐานสากล ไมใช่ว่าประเทศไทยพูดอย่าง แต่ต่างประเทศพูดอีกอย่าง

พูดถึงกลุ่มคนที่ต้องการให้บทลงโทษเกี่ยวกับกฎหมายอาญามาตรา 112 มีโทษมากขึ้น


นักวิชาการด้านกฎหมายอีกฝ่ายบอกว่าถ้าต้องแก้ให้กฎหมายอาญามาตรา 112 ออกจากกฎหมายความมั่นคง หรือยกเลิกไปเลยนั้น ก็จะต้องยกเลิกมาตรา 8 ของรธน.ด้วย

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้องมาถกเถียงกัน สังคมเข้าใจเรื่องมาตรา 8 ตาม รธน. ต่างกัน เวลาเราทำความเข้าใจตัวบทกฎหมายไม่ใช่เพียงแค่ตีความไปตามลายลักษณ์อักษรที่เขียนขึ้นมาเพราะถ้าเป็นแบบนั้นใคร ๆ ก็ตีความตามความเข้าใจของตัวเองทั้งนั้น ดังนั้น รธน.เป็นส่วนหนึ่งของระบอบการปกครอง เราจึงต้องตีความระบอบการปกครองของเราด้วย ด้วยเหตุนี้การแก้ไขม.112 จึงไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับมาตรา 8 ในแง่ที่ว่า ความมุ่งหมายของมาตรานี้ก็เพื่อเทิดองค์พระมหากษัตริย์ให้ทรงพ้นไปจากการเมือง เพราะการเมืองเป็นเรื่องผลประโยชน์และความขัดแย้ง จะดึงพระมหากษัตริย์ลงมาไม่ได้

อีกกระแสหนึ่งบอกว่าเสนอให้ยกเลิกม.112 ไปเลย อาจารย์ทำไมจึงไม่เสนอไปถึงขั้นนั้น

เราศึกษาเปรียบกฎหมายในหลายประเทศก็ยังมีกฎหมายคุ้มครองประมุขของรัฐอยู่ แม้ประเทศญี่ปุ่นจะไม่มีกฎหมายคุ้มครอง แต่หลายประเทศยังมี เราจึงอนุโลมไปตามนั้น

หลายครั้งเวลามีข้อเสนอจากนิติราษฎร์ปรากฏออกมาในหน้าสื่อสารมวลชนก็จะถูกเรียกว่า “นิติเรด” “แก๊งค์ลิงหลอกเจ้า” ซึ่งทำให้คนที่ฟังข้อเสนอของเรามีภาพลบต่อสิ่งที่เราจะพูด ในแง่นี้จะแก้ไขหรือโต้ตอบกลุ่มคนที่ให้ค่ากับนิติราษฎร์ไปในทางลบอย่างไร


มีนักวิชาการบอกว่านิติราษฎร์กำลังทำอะไรอยู่ แก้กฎหมายกลับไปกลับมา ไม่รู้หรือว่า “เมื่อเสียงปืนดังขึ้น กฎหมายจะต้องเงียบ”

ปืนไม่ได้ดังตลอดเวลามันแค่ดังอยู่ช่วงหนึ่งเท่านั้น สังคมที่ถูกกดทับเอาไว้ เนียนบ้างไม่เนียนบ้าง สักวันหนึ่งคนก็จะรู้ แล้วเขาก็จะค่อยๆลุกขึ้นยืน แน่นอนว่าการลุกขึ้นยืนมันต้องแลกมาด้วยความเจ็บปวดเพราะฝ่ายที่ไม่อยากให้ลุกขึ้นยืนจะกดทับแล้ว แต่เชื่อเถอะว่าไม่มีพลังไหนที่จะแข็งแกร่งไปกว่าพลังหรืออำนาจของประชาชน แม้เสียงปืนจะดัง พลังของปืนจะรุนแรง แต่สุดท้ายแม้ในประวัติศาสตร์โลกก็จารึกไว้ว่า พลังของประชาชนนั้นแข็งแกร่งที่สุด ไม่มีใครต้านทานกระแสความเปลี่ยนแปลงได้หรอก

สิ่งที่นิติราษฎร์กำลังทำอยู่หวังผลประโยชน์จากพรรคการเมืองบางพรรคหรือไม่

สิ่งที่เราทำอยู่นั้นมาจากมโนสำนึกของเรา ถ้าเราไม่ทำในสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ เรามองหน้าในกระจกไม่ได้ เท่ากับว่าเราเลือกไปในอีกข้างแล้วหากเราอยู่เฉยกับความอยุติธรรมในสังคมนี้ หลายคนที่เวลาเลือกแล้วมันมีความแตกต่างอย่างชัดเจนก็คือ เวลาที่อีกฝ่ายเลือกเข้าได้ประโยชน์ เงิน ตำแหน่งต่าง ๆ หลังจากที่เขาเลือกข้างไปแล้ว แต่นิติราษฎร์เลือกไปยืนฝั่งตรงข้ามซึ่งเราไม่ได้อะไรเลย เงินก็ไม่ได้รับ ตำแหน่งทางการเมืองหรือวิชาการก็ยังอยู่กับที่ นอกจากไม่ได้อะไรแล้วเรายังต้องเสียเงินเพื่อต้องการบรรลุในสิ่งที่เราทำ ผมพูดตรง ๆ เปิดใจเลยนะ ถ้าผมไปเชียร์รัฐประหาร ไปเป็นคนร่าง รธน.หลังจากรัฐประหาร ผมว่าผมคงได้อะไรมากกว่าที่เป็นอยู่แน่นอน อาจจะได้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือวิชาการมากมาย แต่ที่ผมเลือกอยู่ข้างนี้ ผมไม่ได้อะไรเลยนอกจากว่าความรู้สึกที่ว่าเราได้ทำตามหลักการในสิ่งที่เราเรียนมาในเรื่องกฎหมายมหาชน รู้สึกได้ทำในสิ่งที่มันถูกต้อง ซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพและประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจ ผมรู้สึกสลดใจกับสังคมนะ ในขณะที่ข้างหนึ่งได้ประโยชน์เห็นจากการทำรัฐประหาร ไม่มีสื่อไหนมาตรวจสอบ กลุ่มปัญญาชน นักวิชาการเงียบสนิท ฝ่ายผมที่ไม่เคยได้อะไรเลย ทำไปจากอุดมการณ์กลับถูกกล่าวหา ป้ายสีอยู่ตลอดเวลา ว่าทำเพื่อทักษิณ ทั้งชีวิตผมจนถึงตอนนี้ยังไม่เคยคุยกับทักษิณเลย

จะเล่นการเมืองไหม

ผมยังไม่อยากพูดอะไรที่มันต้องมัดตัวเองในอนาคต แต่ใจผมจริงๆไม่อยากเล่นการเมือง คุณพ่อผมก็เตือนเสมอว่า ถ้าเป็นไปได้อย่าไปเล่นการเมืองเลย

เวลาเดินสวนกับอาจารย์ร่วมคณะที่มีความคิดเห็นขัดแย้งกับนิติราษฎร์ อาจารย์มีปฏิกิริยาอย่างไร

ถ้าคนที่คุยกันได้ก็คุยเรื่องดิน ฟ้า อากาศ ไม่ได้คุยกันเรื่องกฎหมายเพราะเรารู้ว่าแต่ละคนต่างมีความคิดเป็นของตัวเอง ผมเชื่อว่าทางเดินผมถูก เขาก็คงเชื่อว่าทางเดินของเขาก็ถูก แต่ผมเชื่อว่าอาจารย์หลายคนในคณะนี้ที่รู้จักผมดี แม้จะยืนฝั่งตรงข้ามกันแต่เขาก็จะยืนยันแทนผมได้ว่า ผมเป็นคนธรรมดา ไม่ได้มีอะไร ไม่เกี่ยวข้องกับนักการเมืองคนไหนเลย เพราะกลุ่มอาจารย์ในคณะนี้ก็เห็นกันมาตลอดตั้งแต่ยังไม่มีกลุ่มนิติราษฎร์ด้วยซ้ำ รู้จักกันดี แน่นอนว่าหลังจากมีกลุ่มนิติราษฎร์เกิดขึ้นมา ความสัมพันธ์กับอาจารย์ที่คิดต่างจากเราก็จะลดน้อยลงไป ส่วนอาจารย์อีกกลุ่มหนึ่งที่ยืนตรงข้ามกับเราในลักษณะที่ชวนหาเรื่องมากกว่าคุยกันด้วยเหตุผลก็จะบอกว่า ไม่ควรใช้คำว่านิติหรืออ้างความเป็นอาจารย์นิติศาสตร์ มธ. ผมอยากตอบว่า ผมมาเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ถูกต้องตามกฎบังคับของมหาวิทยาลัยทุกข้อ

ในฐานะที่เป็นอาจารย์สอนลูกศิษย์ ถ้าลูกศิษย์มีจุดยืนทางการเมืองแบบหนึ่งที่ทั้งตรงกับเราและไม่ตรงกับเรา ในฐานะอาจารย์ก็เป็นที่รู้จักในทางการเมือง อาจารย์จะสอนลูกศิษย์อย่างไร

ผมบอกลูกศิษย์เสมอว่า เวลาจะเชื่อผมหรือเคารพคล้อยตามในเหตุผลของผมนั้นให้เชื่อเพราะเหตุผลของผมนั้นดี ไม่ใช่ว่าเพราะเป็นผมบอกจึงเชื่อ เราต้องเคารพในเหตุผลมากกว่าตัวบุคคล ไม่ใช่ใครบอกอะไรมาก็เชื่อไปหมดเพราะเห็นว่าเป็นฝ่ายเดียวกัน อีกทั้งถ้าจะแย้งผมว่าผมพูดผิดตรงไหนก็สามารถทำได้แต่ต้องมีเหตุผลรองรับด้วยนะ ไม่ใช่กล่าวหาลอยๆ สำหรับนักศึกษาที่อาจจะมีความคิดไม่ค่อยตรงกับผมนั้น โดยปกติวิชาที่ผมสอนบางครั้งในเทอมหนึ่งอาจจะมีอาจารย์ผู้สอน 2 คน ใครไม่ชอบหลักการของผมก็สามารถไปเรียนกับอีกคนหนึ่งได้ หรือถ้าปีไหนไม่มีอาจารย์ผู้สอนอีกคน ผมก็จะเปิดวิชานี้ไว้แค่เทอมหนึ่ง แล้วเทอมสองก็ให้คนที่ไม่อยากเรียนกับผมไปเรียนช่วงเทอมสอง คือผมพยายามที่จะไม่ผูกขาดวิชาใดวิชาหนึ่งเป็นผู้สอนคนเดียว ผมจะพยายามให้มีผู้สอนที่หลากหลายในวิชาที่ผมสอนอยู่ ให้นักศึกษามีสิทธิเลือกอาจารย์ที่อยากเรียน

ในอีกแง่หนึ่งที่เรานำเสนอสิ่งที่ขัดแย้งกับผลประโยชน์จากฝ่ายตรงข้าม เคยโดนขู่ไหมครับ แล้วถ้าเคยรู้สึกกลัวไหม

ก็มีเขียนจดหมายมาด่า มีมาขู่บ้าง ในความเป็นมนุษย์ที่มีเลือดเนื้อก็ต้องกลัวเป็นธรรมดา ผมเป็นนักวิชาการตัวเล็ก ๆ คงไม่สามารถจ้างบอดี้การ์ดมาคุ้มครองได้ แต่เหล่านี้ก็ไม่ได้ทำให้ผมไม่ทำอะไรเลย คนเราเกิดมาตายครั้งเดียว เพียงแต่ชีวิตหนึ่งผมอยากทำสิ่งที่ถูกต้อง ดีงาม ให้ผลประโยชน์แก่เพื่อนร่วมชาติ

สุดท้ายอาจารย์เป็นนักกฎหมายที่จบจากเยอรมันด้วยทุนอานันทมหิดล หลายคนบอกว่าสิ่งที่อาจารย์ทำอยู่นั้นขัดแย้งกับทุนที่อาจารย์เคยได้รับเพื่อไปศึกษาต่อในต่างประเทศรึเปล่า

เพราะผมเป็นนักเรียนทุนอานันทมหิดลนี่แหละครับ ผมจึงต้องออกมาเคลื่อนไหว สิ่งที่ผมทำอยู่คือการตอบแทน กตัญญูต่อผู้ที่ให้ทุนอานันทมหิดลแก่ผม ที่ผมทำทุกอย่างก็เพื่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ผมไม่รู้ว่านักเรียนคนอื่นๆที่ได้ทุนนี้มีจินตนาการเรื่องนี้อย่างไร แต่สำหรับผมแล้ว สิ่งที่ผมทำก็เพื่อความดำรงอยู่ของสถาบันพระมหากษัตริย์สืบไป ผมชัดเจนเสมอว่าผมต้องการรัฐธรรมนูญในประเทศที่เป็นราชอาณาจักร

@ "วรเจตน์" ฝ่าศึกสหบาทา: ร้องว่าผมเนรคุณ แต่คุณยืนให้สูงเพื่อบอกว่าจงรักภักดี โดยเหยียบหัวผมขึ้นไป