. . . ร่วมด้วยช่วยกันเผยแพร่สื่อสารถึง"คนเสื้อแดง"ทั่วไทยและทั่วโลก . . . ขอขอบพระคุณเจ้าของclipภาพถ่ายและบทความทุกๆท่านที่กรุณาเอื้อเฟื้อแบ่งปัน . . .น้ำใจซื้อขายไม่ได้ แต่น้ำใจให้กันได้...อิอิ
DisplayUs.com

  

. . . รณรงค์พี่น้อง"คนเสื้อแดง"77จังหวัดทั่วไทย 3กรกฎาเข้าคูหากาเบอร์1 ส.ส.เพื่อไทย และกาเบอร์1 พรรคเพื่อไทย ให้จัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียว . . .

Playlist เลือกดูได้... 200 Clip สัมภาษณ์-ปราศรัย-วิสัยทัศน์ คุณปู "ยิ่งลักษณ์...ยิ่งดู...ยิ่งรัก"
  
[คลิกที่นี่...เว็บแรงงานนอกระบบ]
  

@ ปู้นนน...!!! คนเมืองใต้เจียงใหม่ของหมู่เฮาลงไปตางปู๊นนน..... * * @ 2กุมภา..กาเบอร์ 15 ทั้ง ส.ส.เขต และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย


PlayListนี้ เริ่มต้นด้วย "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน" เรียงลำดับตั้งแต่ ตอนแรก ถึง ตอนปัจจุบัน ..ท้ายเพลย์ลิสท์เป็นคลิป "เมื่อศาลรัฐธรรมนูญกระทำขัดรัฐธรรมนูญ : จะทำอย่างไร?" วันพุธที่ 1 พฤษภาคม 2556 เวลา 13.00 - 16.00 น. ห้องกมลทิพย์ ชั้น 2 โรงแรมสุโกศล (สยามซิตี้เดิม) คลิปนี้..วิทยากร รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แสดงความคิดเห็นเริ่มนาที 0:14:24
คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...
หรือคลิกที่นี่.. @ AsiaUpdate "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน"

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2554

"พนัส ทัศนียานนท์" อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มธ.โต้15คำถามของอธิการนาซี และ แถลงการณ์กลุ่มทนายความและนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน

@ ดูกันชัดๆๆๆๆๆ คำพิพากษาศาลฯยกฟ้อง ยึดและควบคุมอำนาจการปกครองแผ่นดิน19ก.ย.2549 แล้วผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดชอบโดยสิ้นเชิง
@ 4 ข้อเสนอนิติราษฎร์ "ลบล้างผลพวงรัฐประหาร 19 กันยา"
@ 026 โตไปไม่โกง???




"พนัส ทัศนียานนท์" อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มธ.โต้15คำถามของอธิการนาซี
Wed, 2011-09-28 12:41

พนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีต สสร.รัฐธรรมนูญ 2540 และ สว. จากการเลือกตั้งสมัยแรก ตอบคำถาม 15 ประเด็นที่ ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ ตั้งคำถามต่อนักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ ที่ออกมาเสนอให้ลบล้างผลพวงแห่งการรัฐประหาร 19 กันยายน2549

โดยเขาโพสต์ข้อความดังกล่าวลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว ซึ่งประชาไทขออนุญาตนำเผยแพร่อีกครั้ง และเพื่อความสะดวกแก่ผู้อ่าน ประชาไทได้นำคำถามของ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีคนปัจจุบันของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มาเรียบเรียงในลักษณะ ถาม-ตอบ ดังนี้

1. เราสามารถยกเลิกกฎหมายที่ถูกยกเลิกไปแล้วได้หรือไม่ เช่นการยกเลิก รธน. 2549

ตอบ: นิติราษฎร์ไม่ได้เสนอให้ยกเลิก รธน.2549 แต่ให้ถือว่าการนิรโทษกรรมให้แก่ผู้ทำรัฐประหารตามมาตรา 37 ไม่เกิดผลตามกฎหมาย

2. ถ้าตำรวจจับคนร้ายที่ทำผิดจริงมาแต่ไม่ได้สอบสวนโดยละเอียด ต่อมาคนร้ายถูกฟ้องศาล มีการโต้แย้งว่ากระบวนการของตำรวจไม่ค่อยถูกต้อง แต่ศาลเห็นว่าไม่เป็นไร ศาลก็พิพากษาไป ตกลงคำพิพากษาของศาลใช้ได้หรือไม่

ตอบ: ตาม ป.วิอาญา การสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ย่อมมีผลทำให้การฟ้องคดีของอัยการไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย ซึ่งโดยหลักการพิจารณาคดีก็ต้องถือว่าไม่ชอบทั้งหมด แต่ศาลไทยบอกไม่เป็นไร หากพิจารณาว่าจำเลยกระทำผิดจริง ก็ลงโทษจำเลยได้ ซึ่งก็เหมือนกับการยอมรับว่าการรัฐประหาร(การกระทำความผิดฐานกบฏ)เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายหากทำสำเร็จนั้นเอง

3. ถ้ามีคนเห็นว่ากระบวนการยุติธรรมในช่วง คมช.ไม่ถูกต้อง ก็ให้ดำเนินการใหม่ คนอีกกลุ่มเห็นว่าการตัดสินคดีซุกหุ้น ศาลตัดสินผิดโดยสิ้นเชิง คนกลุ่มหลังจะขอให้ยกเลิก รธน.2540 ตั้งศาล รธน.ใหม่ แล้วพิพากษาคดีซุกหุ้นใหม่ จะได้หรือไม่

ตอบ: ศาลรัฐธรรมนูญที่ตัดสินคดีซุกหุ้นของทักษิณ เกิดจาก รธน.2540 ที่มิได้มีที่มาจาการรัฐประหารเหมือน รธน.2550 หากมีหลักฐานพิสูจน์ได้ว่าศาลตัดสินผิดก็น่าจะมีการออกกฎหมายมาให้รื้อฟื้นคดีใหม่ได้ โดยไม่ต้องยกเลิก รธน.2540 ซึ่งมิได้เกิดขึ้นจากการกระทำผิดกฎหมายฐานกบฏ(การทำรัฐประหาร)

4. ประชาชนจะลงมติแก้ รธน.ที่ถูกยกเลิกไปแล้วได้หรือไม่

ตอบ: เป็นคำถามประเด็นเดียวกันกับคำถามที่ 1 คำตอบก็คือไม่ใช่การแก้รัฐธรรมนูญที่ถูกยกเลิกไปแล้ว แต่เป็นการยกเลิกเพิกถอนผลของการกระทำที่เกิดจากรัฐธรรมนูญที่เป็นผลพวงของการรัฐประหารที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

5. รธน.2550 ได้รับการลงประชามติโดยประชาชน ในทางกฎหมายเราจะพูดได้หรือไม่ว่า ประชาชนลงมติโดยไม่ถูกต้อง หรือ รธน.2550 ไม่ได้ผ่านความเห็นชอบของประชาชน?

ตอบ: พูดได้ เพราะมีการหลอกลวงขู่เข็ญบังคับให้ประชาชนลงมติ จึงเป็นการลงประชามติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

6. ตั้งโดย คมช. ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองก็ตั้งโดย คมช. ใช่หรือไม่

ตอบ: คตส.ตั้งโดย คมช.แน่นอน ส่วนศาลฎีกาแผนกคดีอาญานักการเมืองก็เกิดจากรัฐธรรมนูญ 2550 ซึ่ง คมช.เป็นผู้ให้กำเนิดเช่นกัน ดังนั้น เมื่อการกระทำรัฐประหารของ คมช.เป็นการกระทำที่ละเมิดบทบัญญัติมาตรา 63 แห่ง รธน.2540 และเป็นความผิดฐานกบฏตาม ป.อาญามาตรา 113 ทั้ง คตส.และศาลฎีกาแผนกคดีอาญานักการเมืองจึงเป็นองค์กรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วยกันทั้งคู่

7. การดำเนินการตามแนวคิดของนิติราษฎร์ ไม่มีผลทางกฎหมายต่อนายกฯทักษิณเลยใช่หรือไม่

ตอบ: ตามที่คณะนิติราษฎร์แถลง มีผลโดยตรงแน่นอน คือต้องพิจารณาคดีใหม่โดยกระบวนการยุึติธรรม ที่ชอบด้วยหลักนิติธรรม ถ้ากระทำผิดจริงตามข้อกล่าวหาก็ต้องถูกลงโทษ

8. มาตรา 112 ขัดแย้งกับ รธน.จริงหรือ และขัดกับ รธน.2550 ที่จะถูกยกเลิกใช่หรือไม่

ตอบ: ป.อาญา ม.112 เท่าที่มีการตีความและใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันมีผลขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญแน่นอน เพราะเป็นการลิดรอนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนซึ้งเป็นสิทธิขั้นมูลฐานตามรธน.ของประชาชนโดยสิ้นเชิง แต่อาจไม่ขัดแย้งกับ รธน.2550 เพราะเจตนารมณ์ของผู้ร่าง(สสร.2550)ไม่ถือว่าขัดแย้งอยู่แล้ว

9. ประเทศทั้งหลายในโลกรวมทั้งเยอรมัน เขาไม่คุ้มครองประมุขของประเทศเป็นพิเศษแตกต่างไปจากประชาชนใช่หรือไม่

ตอบ: ทุกประเทศมีกฎหมายคุ้มครองประมุขของประเทศ แต่ประเทศที่เป็นประชาธิปไตยอย่างเช่นเยอรมัน อังกฤษ อเมริกา เขาถือว่าเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นของประชาชนเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามหลักนิติธรรม ประมุขของประเทศจึงอาจถูกวิพากษ์วิจารณ์ได้ หากมีการกระทำใดๆที่มีผลต่อการเมืองการปกครองของประเทศไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อม

10. ถ้ามีคนไปโต้แย้งคณะนิติราษฎร์ในที่สาธารณะเขาจะไม่ถูกขว้างปาและโห่ฮาเหมือนกับหมอตุลย์ใช่หรือไม่

ตอบ: หากท่านคิดจะไปโต้แย้งกับคณะนิติราษฎร์ ท่านอธิการก็จัดเวทีที่ธรรมศาสตร์สิครับ ผมเชื่อว่าไม่มีใครกล้าโห่ฮาท่านแน่นอน

11. ถ้าเรายกเลิกกฎหมายที่ถูกยกเลิกไปแล้วได้ เราจะล้มเลิกการกระทำทั้งหลายและลงโทษคณะรัฐประหารกี่ชุด สุจินดา ถนอม ประภาศ สฤษฏ์ จอมพล ป. อ.ปรีดี หรือจะลงโทษเฉพาะคณะรัฐประหารที่กระทำต่อนายกฯทักษิณ

ตอบ: การประกาศให้ผลของการรัฐประหาร ไม่เป็นการนิรโทษกรรมให้แก่ผู้กระทำผิดฐานกบฏ โดยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และให้ประชาชนลงประชามติตามที่คณะนิติราษฎร์เสนอ เป็นการยกเลิกการนิรโทษกรรมที่กำหนดไว้ใน รธน.2550 ไม่ใช่ยกเลิกกฎหมายที่ยกเลิกไปแล้ว ส่วนที่ถามว่าทำไมไม่ยกเลิกผลของการกระทำรัฐประหารของสุจินดา ถนอม สฤษดิ์ จอมพล ป. ปรีดี แล้วเอาตัวคนเหล่านี้มาลงโทษฐานกบฏด้วย เห็นด้วยว่าสมควรทำในสิ่งที่ยังพอกระทำได้ เช่นการให้ความช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ที่ได้รับผลร้ายจากการกระทำรัฐประหารเหล่านั้น (โดยเฉพาะผู้ที่ถูกลงโทษโดยไม่ผ่านการพิจารณาคดีตามกระบวนการยุติธรรม) แต่การนำตัวผู้กระทำรัฐประหารมาลงโทษคงกระทำไม่ได้แล้วเพราะผู้กระทำผิดส่วนใหญ่ตายไปแล้ว ที่ยังเหลืออยู่คดีก็ขาดอายุความหมดแล้ว

12. ความเห็นของนักกฎหมายที่เห็นไม่ตรงกับคณะนิติราษฎร์แต่ดีกว่าคณะนิติราษฎร์ รัฐบาลนี้จะรับไปใช่หรือไม่

ตอบ: ช่วยเสนอให้หน่อยว่าความเห็นของท่านที่ดีกว่าของคณะนิติราษฎร์ คือ อย่างไร ถ้าดีกว่าจริงจะขอสนับสนุนเต็มที่เลย ในฐานะที่เป็นนักกฎหมายด้วยกัน

13. ศาล รธน. ช่วยนายกฯทักษิณคดีซุกหุ้นถือว่าใช้ได้ แต่ไม่ช่วยคดียึดทรัพย์ถือว่าใช้ไม่ได้ เป็นตุลาการภิวัตน์ใช่หรือไม่

ตอบ: ตุลาการภิวัตน์ คือตุลาการที่ยอมตนเป็นเครื่องมือและอาวุธให้แก่ผู้มีอำนาจกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้ใช้เพื่อประหัตประหารและทำลายล้างศัตรูของตน ตุลาการศาลทั้งในคดีซุกหุ้นและคดียึดทรัพย์ทักษิณ จึงเป็นตุลาการภิวัตน์ด้วยกันทั้งสิ้น เพียงแต่ว่าในคดีซุกหุ้นตุลาการภิวัตน์เป็นฝ่ายแพ้

14. บทบัญญัติว่าด้วยสิทธิเสรีภาพของประชาชนตาม รธน.2550 แย่กว่า รธน.2540, 2475 ที่คณะนิติราษฎร์จะนำมาใช้ใช่หรือไม่

ตอบ: บทบัญญัติว่าด้วยสิทธิเสรีภาพตาม รธน.2550 และฉบับอื่นทุกฉบับไม่มีความหมายอะไรเลย ไม่มีฉบับใดดีกว่ากัน เพราะตราบใดที่ตุลาการไทยยังยอมรับว่ารัฏฐาธิปัตย์คือผู้ที่ได้อำนาจอธิปไตยมาโดยรถถังและปืนและอำนาจอธิปไตยไม่ใช่อำนาจของประชาชน

15. คมช. เลว สสร.ที่มาจาก คมช.ก็เลว รธน.2550 ที่มาจาก สสร.ก็เลว แต่รัฐบาลที่มาจาก รธน.เลว เป็นรัฐบาลดีใช่หรือไม่ สสร.ที่มาจากรัฐบาลชุดนี้ และที่ อ.วรเจตน์จะเข้าร่วม ก็เป็น สสร.ที่ดีใช่หรือไม่

ตอบ: ไม่ใช่เรื่องใครดีใครเลว แต่เป็นเรื่องของหลักการในทางนิติศาสตร์ ที่จะต้องมีการยืนยันว่าระหว่างอำนาจรัฐกับเสรีภาพของประชาชนและระหว่างระบอบเผด็จการกับระบอบประชาธิปไตย นักกฎหมายควรจะยืนอยู่ข้างใดมากกว่า

เขียนโดย JJ_Sathon
http://www.go6tv.com/2011/09/15.html
วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2554

บทสัมภาษณ์จาตุรนต์ ฉายแสง วิพากษ์การเมือง 27ก.ย.2554

แถลงการณ์กลุ่มทนายความและนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน คัดค้านแถลงการณ์สภาทนายความ
Facebook: Ann Paw เมื่อ 28 กันยายน 2011 เวลา 17:08 น.

แถลงการณ์กลุ่มทนายความและนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน

เรื่อง คัดค้านแถลงการณ์สภาทนายความฉบับที่ 2/2554

อ้างถึง แถลงการณ์สภาทนายความฉบับที่ 2/2554 ลว. 27 กันยายน 2554

ตามที่สภาทนายความได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 2/2554 ขอแสดงความคิดเห็นต่อข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฎร์ ความละเอียดปรากฏตามที่อ้างถึงนั้น

กลุ่มทนายความและนักกฎหมายดังปรากฏรายนามท้ายแถลงการณ์นี้ ซึ่งเป็นสมาชิกสภาทนายความ ตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2548 และนักกฎหมายที่ทำงานด้านการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย มีความวิตกกังวลต่อสาระสำคัญของแถลงการณ์ดังกล่าว ที่อาจนำความเสื่อมเสียต่อเกียรติภูมิของทนายความโดยรวม โดยเหตุที่สภาทนายความมี 2 สถานภาพทางสังคมกล่าวคือ

สภาทนายความเป็นสถาบันวิชาชีพที่ออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ที่จะเป็นทนายความ ซึ่งทนายความถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการยุติธรรมในการดำเนินการเพื่อส่งเสริมหลักนิติธรรม (Rule of Law) ร่วมค้นหาความจริงกับอัยการและผู้พิพากษาต่อการกระทำของผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา เพื่อนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกฎหมาย และยังมีหน้าที่ "ผดุงไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ และปฏิบัติตน ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติทนายความ" อีกสถานภาพหนึ่ง

สภาทนายความพึงเป็นสถาบันของสังคมในการส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตย, สภาทนายความเป็นแถวหน้าของผู้เรียกร้องการปกครองระบอบประชาธิปไตย ต่อต้านอำนาจนิยมและผลักดันให้มีกฎหมายที่ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน, สภาทนายความจึงเป็นสถาบันของผู้ประกอบวิชาชีพทนายความและเสาหลักหนึ่งในสังคมประชาธิปไตย, สภาทนายความจึงต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เหมาะสมแก่เกียรติภูมิของสมาชิกและประชาชนในสังคมประชาธิปไตย, สภาทนายความต้องยึดมั่นในหลักการสำคัญของหลักนิติธรรม หลักสิทธิมนุษยชน และร่วมกันจรรโลงไว้ซึ่งหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันนานาอารยประเทศยึดถือด้วย แต่จากแถลงการณ์ของสภาทนายความ ตามที่อ้างถึง กลุ่มทนายความฯ ขอแสดงความคิดเห็น ดังนี้

ข้อ 1 แถลงการณ์ของสภาทนายความ ข้อ 1 กล่าวว่า "สภาทนายความไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหารที่ล้มล้างรัฐบาลที่ใช้อำนาจบริหารโดยชอบธรรม ....สำหรับการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ...สภาทนายความไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลที่ใช้อำนาจบริหารในขณะนั้นได้ใช้อำนาจเงินครอบงำพรรคการเมืองอื่น จนสามารถรวบรวมเป็นพรรคการเมืองที่มีอำนาจเด็ดขาดในรัฐสภา ใช้อำนาจบริหาร และอำนาจเงินครอบงำสื่อสารมวลชน และองค์กรอิสระ จนทำให้การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐไม่บรรลุผลตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย และมีการทุจริต ประพฤติมิชอบ เพื่อหาประโยชน์แก่ตนเอง และพวกพ้อง จนกระทั่งเป็นเหตุให้มีการรัฐประหาร"

กลุ่มทนายความและนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน มีความเห็นว่า "การรัฐประหารทุกครั้งถือเป็นการทำลายหลักนิติธรรมและทำลายกลไกของระบอบประชาธิปไตย" ที่ทุกฝ่ายในสังคมต้องออกมาประณามการกระทำที่ไร้เกียรติ ไร้สติ และมิอาจอ้างมูลอันชอบด้วยหลักการใดๆ ในสังคมรัฐเสรีประชาธิปไตยได้ และต้องถือว่า "การรัฐประหาร" ถือเป็นอาชญากรรมต่อประชาธิปไตยและความมั่นคงของรัฐ ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113 ทั้ง ผู้ก่อการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุน ต้องรับผิดร่วมกันหรือแทนกันตามความหนักเบาแห่งการกระทำ โดยไม่มีข้อยกเว้น

แต่ตามแถลงการณ์ดังกล่าวการที่สภาทนายความยอมรับการรัฐประหาร เมื่อ 19 กันยายน 2549 โดยอ้างว่า หากรัฐบาลฉ้อฉล ใช้อำนาจโดยมิชอบ ก็สามารถให้อำนาจนอกระบบล้มล้างรัฐธรรมนูญและรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนได้ ซึ่งเท่ากับสภาทนายความสนับสนุนอาชญากรรมต่อความมั่นคงของรัฐและระบอบประชาธิปไตย

ข้อเสนอของสภาทนายความ ในข้อนี้ กลุ่มทนายความและนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน มีความเห็นว่า เป็นการทำลายหลักนิติธรรม และระบอบประชาธิปไตย อันนำความเสื่อมเสียมาสู่เกียรติภูมิของสภาทนายความ

ข้อ 2 แถลงการณ์สภาทนายความที่เห็นว่า การแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน (คตส.) ได้ดำเนินการไปตามกระบวนการยุติธรรมปกติ คือ เมื่อ คตส. สอบสวนเสร็จแล้ว ต้องส่งแก่อัยการสูงสุด และนำไปสู่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในที่สุด นั้น กลุ่มทนายความและนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน เห็นว่า ที่มาของ คตส. มาจากการการแต่งตั้งของคณะรัฐประหาร หรือ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ในขณะนั้น คมช. ถือเป็นองค์กรของอาชญากร ที่ยึดอำนาจโดยมิชอบมาจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง คมช.จึงไม่มีอำนาจในการปกครองประเทศมาตั้งแต่ยึดอำนาจแล้ว ดังนั้น การแต่งตั้งบุคคลหรือคณะบุคคลให้ดำเนินการใด ตามอำนาจที่ได้มาโดยมิชอบ ย่อมไม่มีผลทางกฎหมาย เทียบเคียงได้กับภาษิตกฎหมายที่ว่า "ผลของต้นไม้พิษ (Fruit of the poisonous tree) ย่อมมีพิษ" การดำเนินการของ คตส. โดยมาจากต้นไม้ที่ไม่ชอบ คตส.ย่อมเป็นผลไม้ของต้นไม้ที่ไม่ชอบ จึงไม่มีอำนาจดำเนินการใดๆ ดังนั้น จึงไม่ต้องพิจารณาต่อไปว่า คตส. ได้ดำเนินกระบวนการตามกระบวนการยุติธรรมปกติ หรือไม่ เพราะมีที่มาโดยมิชอบ

ประการต่อมา นายกสภาทนายความ (นายสัก กอแสงเรือง) มิอาจอ้างเหตุผลข้อนี้มาอ้างความชอบธรรมในแถลงการณ์ของสภาทนายความได้ เพราะนายกสภาทนายความมีผลประโยชน์ทับซ้อน จากการได้รับการแต่งตั้งจาก คมช. ให้เป็นหนึ่งในกรรมการ คตส. การปกป้องตนเองที่ทำหน้าที่ โดยมีที่มาจากการแต่งตั้งโดยมิชอบ อาจทำความเสื่อมเสียแก่เกียรติภูมิของทนายความโดยรวม และไม่เป็นแบบอย่างที่ดีแก่อนุชนทนายความรุ่นหลัง

ข้อ 3 สภาทนายความไม่เห็นด้วยกับการเสนอให้แก้ไข มาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ว่าด้วยความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ นั้น กลุ่มทนายความและนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน เห็นว่า สภาทนายความจำเป็นต้องแสดงจุดยืนในการเคารพต่อหลักนิติธรรม เนื่องจากมีการใช้กฎหมายข้อหานี้ ทำลายผู้มีความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างจากตน และเป็นการให้อำนาจแก่ใครก็ได้ในการแจ้งความดำเนินคดีบุคคลอื่น โดยอาศัยกฎหมายข้อหานี้ การแก้ไขสาระสำคัญของกฎหมายอาญา มาตรา 112 ย่อมไม่เป็นการกระทบกระเทือนต่อประเพณีของชาติ หรือขัดแย้งต่อประวัติศาสตร์หรือขนบธรรมเนียมของประเทศ หรือเป็นการลดเกียรติยศของพระมหากษัตริย์แต่ประการใด

ตรงกันข้าม การใช้กฎหมายมาตรา 112 ในปัจจุบัน กลับกลายเป็นการทำลายพระเกียรติ และทำให้สถานะของสถาบันพระมหากษัตริย์เสื่อมถอยลงอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในสังคม ขณะเดียวกัน การใช้กฎหมายอาญามาตรา 112 ย่อมนำมาซึ่งความขัดแย้งระหว่างประชาชนในสังคมไทย ซึ่งควรได้รับการพิจารณาอย่างจริงจัง

กลุ่มทนายความและนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน ขอแสดงความคิดเห็นดังกล่าว เพื่อแสดงจุดยืนว่า สังคมใดจะเป็นสังคมที่เจริญและสงบสุขได้นั้น สถาบันต่างๆในสังคมต้องยึดมั่นต่อ หลักนิติธรรม สิทธิมนุษยชน และเคารพต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยต้องร่วมกันแสดงความคิดเห็นคัดค้านอำนาจที่มิชอบ เช่น การรัฐประหาร ดังเหตุผลข้างต้น และขอเรียกร้องให้สภาทนายความ ในฐานะสถาบันหลักสถาบันหนึ่งของสังคม จงเป็นที่พึ่งแก่คนยากไร้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมตามกฎหมาย และเป็นสถาบันที่ธำรงไว้ซึ่ง หลักนิติธรรม สิทธิมนุษยชน และหลักประชาธิปไตย ตลอดไป

ณ วันที่ 28 กันยายน 2554

ลงชื่อ
นางสาวเยาวลักษ์ อนุพันธุ์ ทนายความ
นางสาวส.รัตนมณี พลกล้า ทนายความ
นายศราวุฒิ ประทุมราช นักกฎหมาย
นางสาวพูนสุข พูนุสขเจริญ ทนายความ
นายพนม บุตะเขียว ทนายความ
นางสาวภาวิณี ชุมศรี ทนายความ
นายอานนท์ นำภา ทนายความ
นางสาววราภรณ์ อุทัยรังษี ทนายความ
นายสนธยา โคตปัญญา นักกฎหมาย
นางสาวศิริกาญจน์ เจริญศิริ นักกฎหมาย
นายจุลศักดิ์ แก้วกาญจน์ นักกฎหมาย
นางสาวเกศรินทร์ เตียวสกุล นักกฎหมาย