@ ชีวิตหมอที่ไม่ได้ไปอเมริกา By: kimeng suk
@ สาเหตุที่มึงป่วย...เพราะ...โง่...
@ ไม่รีบเค้นออกมาจะเสียใจ...พรสวรรค์หรือความสามารถพิเศษของเด็กๆ
@ พิธีอภิเษกสมรสระหว่างเจ้าหญิงฮาจาห์ ฮาฟิซาห์ ซูรูรุล โบเกียะห์ พระธิดาสุลต่านบรูไน
@ ขอต้อนรับ นายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และคณะ สู่มหานครนิวยอร์ก คลิกที่นี่...
@ สิ่งที่ควรรู้ ก่อนเรียน Master of Business Administration (MBA)
@ มองโครงการรับจำนำข้าวในสายตาของชาวนาตัวจริง...
@ ภาพชุด..นายกฯปู ร่วมประชุม สุดยอด ACD กรอบความร่วมมือเอเชีย ที่คูเวตซิตี้
@ สดุดี..นโยบายบัตรทองประกันสุขภาพ 30 บาทรักษาทุกโรค
@ ทักษิณคิดแต่เรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน...เพื่อประเทศและประชาชน
@ Obama' ประเด็นที่สื่อไทยเมิน & อัลบั้มโอบามาเยือนไทย 18พ.ย.55
@ ถ่ายทอดสด... วิทยุรัฐสภา & โทรทัศน์รัฐสภา
@ ความผิดพลาดของ ปชป. ที่หวังเล่นงาน นายกฯปู
@ ปลื้มปีตี"ในหลวง"เสด็จออก ณ สีหบัญชร เปล่งเสียง"ทรงพระเจริญ"กึกก้อง
@ คุณอภิสิทธิ์ครับ ผมเคยบอกแล้วไงครับ ไม่พูดดีกว่านะครับ
@ 'ประชามติ'เกมวัดใจผู้มีสิทธิ 46 ล้าน ต้องการ รธน.เผด็จการหรือประชาธิปไตย ???
คลิกที่ภาพ...เพื่อดูขนาดที่ใหญ่ขึ้น @ New!! แจกปฏิทินนายกฯปู พ.ศ.2556 คลิกที่นี่...
ถ้ายกเลิก มาตรา 309 (บทนิรโทษกรรม) ของรัฐธรรมนูญ 2550 ใครได้ใครเสีย
โดย นคร พจนวรพงษ์ อดีตผู้พิพากษาศาลยุติธรรม
(ที่มา หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 12 มกราคม 2554)
รัฐธรรมนูญ ม.309 คือ "กล่องดวงใจ ของ คมช." เป็นมาตราที่ "คุ้มกะลาหัว" ให้ "คมช. และ ผู้รับใช้ คมช. ไม่เป็นกบฏ"
ถ้าเอามาตรานี้ออกไป ... สถานะของฝ่ายทักษิณ และ ฝ่ายอำมาตย์ที่อยู่เบื้องหลัง คมช. ก็จะเท่าเทียมกัน
ยกเลิก ม.309 ไปแล้ว ... ทักษิณก็ไม่ได้พ้นผิด ... แต่ คมช. และ ผู้รับใช้ จะเปลี่ยนสถานะเป็น "กบฏ" ได้ทันที ที่มีผู้นำเรื่องไปฟ้องศาล
คุณทักษิณแค่จะได้กลับมาสู่ขั้นตอนปรกติของศาล ต่อสู้ได้ในชั้นศาลปรกติ เหมือนที่มาร์คได้สิทธิ์ตอนนี้นั่นแหละ
@ 'ประชามติ'เกมวัดใจผู้มีสิทธิ 46 ล้าน ต้องการ รธน.เผด็จการหรือประชาธิปไตย ???
รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน (ฉบับถาวรที่ 18) พ.ศ.2550 มาตรา 309 อ้างถึงรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) ฉบับที่ 17 (พ.ศ.2549) ซึ่งมีบทนิรโทษกรรมอยู่ในมาตรา 37
"มาตรา 37 บรรดาการกระทำทั้งหลายซึ่งได้กระทำเนื่องในการยึด และควบคุมอำนาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ 19 กันยายน พุทธศักราช 2549 ของหัวหน้า และคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รวมตลอดทั้งการกระทำของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำดังกล่าวหรือของผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหรือคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอันได้กระทำไปเพื่อการดังกล่าวข้างต้นนั้น
การกระทำดังกล่าวมาทั้งหมดนี้ไม่ว่าเป็นการกระทำเพื่อให้มีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ รวมทั้งการลงโทษและการกระทำอันเป็นการบริหารราชการอย่างอื่น ไม่ว่ากระทำในฐานะตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำหรือผู้ถูกใช้ให้กระทำ และไม่ว่ากระทำในวันที่กล่าวนั้นหรือก่อน หรือหลังวันที่กล่าวนั้น หากการกระทำนั้นผิดต่อกฎหมาย ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิด และความรับผิดโดยสิ้นเชิง"
(มาตรา 37 เขาเอามายัดไว้ใน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เรียบร้อยแล้วครับ ไม่ใช่แค่ประกาศ คปค.อย่างเดียว โดยยกเอา ฉบับชั่วคราว มารับรองถาวรจนถึงวันนี้)
นั่นก็คือ "บทนิรโทษกรรม" ตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวที่ คปค.หรือ คมช.ประกาศใช้เพื่อปกป้องการกระทำอันเป็นการละเมิดต่อกฎหมาย เนื่องจากการกระทำรัฐประหาร เพื่อให้คณะของตนไม่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือไม่ต้องมีความผิด
การบัญญัติบทนิรโทษกรรมเช่นนี้ ได้เคยมีแต่เฉพาะในรัฐธรรมนูญ "ฉบับชั่วคราว" เท่านั้น คือฉบับที่ 9 (พ.ศ.2515) มาตรา 21 ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2519) มาตรา 29 ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2520) มาตรา 32 ฉบับที่ 14 (พ.ศ.2534) มาตรา 32 และฉบับที่ 17 (พ.ศ.2549) คือมาตรา 37 ดังกล่าวมาแล้ว
ในรัฐธรรมนูญฉบับถาวรที่ผ่านมาไม่มีฉบับใดบัญญัติบทนิรโทษกรรมเช่นนั้นไว้ พึ่งจะมีให้เห็นในฉบับที่ 18 (พ.ศ.2550) เป็นครั้งแรกของประเทศไทย กล่าวคือ มาตรา 309 อยู่ในบทเฉพาะกาลและเป็นมาตราสุดท้ายของรัฐธรรมนูญฉบับนี้บัญญัติไว้ว่า
"มาตรา 309 บรรดาการใดๆที่ได้รับรองไว้ใน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีดังกล่าวไม่ว่าก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ให้ถือว่าการนั้นและการกระทำนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้"
รัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 18 (พ.ศ.2550) นี้ ประกาศใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2550 จะเห็นได้ว่ามาตรา 309 อ้างฉบับชั่วคราวที่ 17 (พ.ศ.2549) ซึ่งมีบทนิรโทษกรรม ตามมาตรา 37 เป็นหลักคุ้มครองหรือนิรโทษกรรมไว้ทั้งหมด ไม่ว่าการกระทำนั้นจะเกิดก่อนหรือหลังวันที่ 24 สิงหาคม 2550 และจะคุ้มครองต่อไปตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2550 จนถึงปัจจุบันและจะคุ้มครองต่อไปในอนาคตจนชั่วกัลปาวสาน และถ้ายกเลิกมาตรา 309 นี้แล้ว ใครได้ใครเสีย
เคยมีรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2511) มาตรา 183 ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2521) มาตรา 206 และฉบับที่ 15 (พ.ศ.2534) มาตรา 222 บัญญัติไว้ในลักษณะเดียวกันคือ ประกาศหรือคำสั่งที่ออกใช้บังคับ "ก่อน" วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ให้มีผลใช้บังคับได้โดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้ต่อไป และไม่เคยมีฉบับถาวรฉบับใดใช้คำว่า "ก่อนหรือหลัง" วันประกาศใช้เช่น มาตรา 309 นี้เลย
การคุ้มครองการกระทำของผู้ใช้อำนาจโดยพลการทั้งในปัจจุบันและอนาคตอย่างไม่รู้จักจบสิ้น และยังคุ้มครองรวมไปถึงพรรคพวกผู้เกี่ยวข้องของ คปค.หรือ คมช. ซึ่งมีอีกอย่างกว้างขวางและมากมาย ทำให้สะกิดใจนึกถึงความขมขื่นใจของคนไทยในอดีต
ราษฎรชาวสยามหรือประชาชนคนไทยเคยถูกลวง ถูกหลอกและถูกบังคับให้เจ็บช้ำน้ำใจครั้งที่เราเคยเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต (สิทธิทางศาล) ให้แก่จักรวรรดินิยม หรือประเทศที่ล่าอาณานิคม ซ้ำร้ายเรายังถูกตีความขยายความจากสนธิสัญญาที่เคลือบคลุมและอยู่ในภาวะจำยอมจนต้องเสียสิทธิทางศาลให้แก่คนในบังคับหรือพลเมืองของประเทศที่เป็นเมืองขึ้นของจักรวรรดินิยมเหล่านั้นอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ความไม่ชอบธรรมและเอาเปรียบของสนธิสัญญาเหล่านั้นคนไทยเราก็ร่วมมือกันผลักดันและยกเลิกสนธิสัญญาที่เราตกเป็นทาสหรือเสียเอกราชทางศาลนั้นได้สำเร็จในที่สุด
เมื่อพูดมาถึงตรงนี้ ก็จะขอตอบคำถามตามหัวเรื่องข้างต้นที่ว่า ถ้ายกเลิกมาตรา 309 ของรัฐธรรมนูญ 2550 ใครได้ใครเสีย โดยนำเอาหลักตรรกวิทยาว่าด้วยการคิดหาเหตุผลมาพิเคราะห์ว่า ใครคือผู้กระทำละเมิดต่อกฎหมาย ใครคือผู้ถูกกระทำและได้รับความเสียหาย ใครคือผู้ออกกฎหมายมาคุ้มครองผลของการทำละเมิดด้วยการนิรโทษตัวเอง ก็จะเห็นคำตอบได้ชัดเจนแล้ว
มีบุคคลสาธารณะที่ฝักใฝ่อำนาจเผด็จการ ซึ่งแฝงตัวอยู่ในสภาพของนักการเมือง นักการทหาร นักกฎหมายหรือนักวิชาการ รวมตลอดไปถึงนักเคลื่อนไหวไร้อุดมการณ์บางคน ต่างหลับหูหลับตาออกมาพูดว่าการเรียกร้องให้ยกเลิกมาตรา 309 ก็เพื่อประโยชน์ของคนบางคนหรือบางกลุ่มบางพวกเท่านั้น ถ้ายกเลิกมาตรา 309 แล้วประเทศชาติจะเสียหาย
คำพูดที่พูดออกมาเช่นนี้สังคมพอจะรู้ว่าพวกเขาหมายถึงใครและมีจุดประสงค์อย่างไร ซึ่งบุคคลที่เขากล่าวถึงว่าจะได้ประโยชน์ก็ล้วนแต่เป็นผู้เสียหายที่ถูกพวกเขากระทำย่ำยีถูกพวกเขากระทำละเมิดทั้งนั้น
คนไทยยุคสมัยนั้นเขากินข้าวสุกข้าวสวย กินข้าวนึ่งข้าวเหนียว ไม่ได้กินแกลบกินรำที่ใครจะมาโน้มน้าวหลอกลวงได้ง่ายๆ อีกต่อไปแล้ว พวกผีกระหังหรือผีกระสือที่ชอบอาจมของโสโครกอาศัยความมืดหรืออำนาจมืดบีบบังคับหลอกลวงผู้ด้อยปัญญาทั่วไปจนเคยตัว ไม่ได้คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนไทยทุกคนที่เท่าเทียมกัน โปรดรับทราบด้วยว่าปัจจุบันนี้พวกคุณจะทำเช่นนี้อีกไม่ได้แล้ว ประชาชนเขาเห็นไส้เห็นพุงกันหมดแล้ว ประชาชนเขาตาสว่างกันทั่วทุกคนแล้ว ประชาชนเขาจะไม่ยอมต่อไปอีกแล้ว ประชาชนเขาจะต่อต้านขัดขวางอย่างจริงจัง อย่าใช้อำนาจมืดมาบังคับหลอกลวงประชาชนอีกเลย อย่าปิดหูปิดตาประชาชนอีกต่อไปเลย ระวังผลกรรมจะตามทัน
เมื่อหันมาพูดถึงคน "เสีย" แล้วจะมีใครเสียบ้าง ใครออกกฎหมายมาคุ้มครองพวกเขาเล่าคำตอบง่ายๆ ก็เช่นกัน คนจะเสียก็พวกทำละเมิดก็คือพวกเขานั่นเอง การใช้กำลังยึดอำนาจการปกครองล้มล้างฉีกรัฐธรรมนูญทิ้ง มีความผิดฐานเป็นกบฏมีโทษถึงประหารชีวิต ซึ่งรวมทั้งตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำหรือผู้ถูกใช้ให้กระทำด้วย (ป.อ.มาตรา 113) และยังกระทำย่ำยีเข่นฆ่าประชาชนผู้มาชุมนุมเรียกร้องเรียกหาประชาธิปไตยอีก ซึ่งพวกเขาจะต้องมีความผิดอาญาฐานอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย และอายุความก็มากเสียด้วยส่วนใหญ่จะยาวนานถึง 20 ปี และยังจะถูกบังคับให้ชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่งด้วยอีกต่างหากในอนาคตต่อไปใกล้ๆ นี้อาจจะได้เห็นโฉมหน้าของหัวหน้าใหญ่หัวหน้ารองหรือบรรดาลิ่วล้อลูกสมุนบางคนถูกรางวัลใหญ่รางวัลย่อยหรือถูกหางเลขกันบ้าง
การออกกฎหมายนิรโทษกรรมในช่วงกระทำการยึดอำนาจ จนถึงสิ้นสุดการใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวก็น่าจะเพียงพอแล้ว ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ก็ยากที่จะฝืนใจยอมรับได้ เมื่อประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวรแล้ว การนิรโทษกรรมก็ควรจะสิ้นสุดลง
การใช้อำนาจเช่นนั้น ถ้าบริสุทธิ์ใจจริง ไม่มีอคติ ไม่มัวเมาในอำนาจ ไม่ลุแก่อำนาจ ไม่ก่อกรรมทำเข็ญ ไม่ไปทำละเมิดให้บุคคลอื่นใดหรือประเทศชาติเสียหาย ก็ไม่จำเป็นจะต้องมีมาตรา 309 มาคุ้มครอง (หรือคุ้มหัว...ขออภัย) อีกต่อไป
@ นโยบายพรรคเพื่อไทย
สนับสนุน'ทำประชามติ'ก่อนลงมติโหวตผ่านร่างแก้ไข รธน.วาระ3
วันที่ 11 ธ.ค.2555 น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์หลังประชุมคณะรัฐมนตรี โดยยอมรับว่า ได้พูดคุยกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีแล้ว ซึ่งได้มีข้อเสนอให้มีการขอความคิดเห็นประชาชนผ่านการทำประชามติในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งกระบวนการทั้งหมด ต้องให้สภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้พิจารณา โดยย้ำว่าต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุดในการจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งขณะนี้มี 2 แนวทาง คือ การทำเวทีประชาเสวนา และ การทำประชามติก่อนจะมีการลงมติโหวตผ่านวาระ 3 มาตรา 291 ต่อไป
ทั้งนี้ รัฐบาลยังมีความห่วงใยกระแสความไม่เข้าใจกัน แต่เชื่อว่าหากให้ประชาชนมีส่วนร่วมแล้ว จะลดความขัดแย้งในบ้านเมืองลงได้ ซึ่งส่วนตัวและรัฐบาลเองก็ต้องการให้เกิดความสงบ โดยน้อมนำพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวันที่ 5 ธันวาคม มาปฏิบัติ
@ สนับสนุน'ทำประชามติ'ก่อนลงมติโหวตผ่านร่างแก้ไข รธน.วาระ3
มาตรา ๙ การออกเสียงที่จะถือว่ามีข้อยุติในเรื่องที่จัดทำประชามติต้องมีผู้มาออกเสียงเป็นจำนวนเสียงข้างมากของผู้มีสิทธิออกเสียง (ขณะนี้มีจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียงทั่วประเทศ 46 ล้านคน ดังนั้นต้องมีผู้ออกมาใช้สิทธิออกเสียงเกิน 23 ล้านคน) และมีจำนวนเสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งของผู้มาออกเสียงในเรื่องที่จัดทำประชามตินั้น (เสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิออกเสียงคือ 12 ล้านคน)
@ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. ๒๕๕๒
มาตรา ๙ การออกเสียงที่จะถือว่ามีข้อยุติในเรื่องที่จัดทำประชามติต้องมีผู้มาออกเสียงเป็นจำนวนเสียงข้างมากของผู้มีสิทธิออกเสียงและมีจำนวนเสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งของผู้มาออกเสียงในเรื่องที่จัดทำประชามตินั้น
การออกเสียงเพื่อให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรี ให้ถือเสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงในการให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในเรื่องที่จัดทำประชามติ
การออกเสียงตามที่มีกฎหมายบัญญัติตามมาตรา ๑๖๕ (๒) ของรัฐธรรมนูญให้ถือจำนวนคะแนนเสียงตามที่กฎหมายนั้นบัญญัติ แต่ถ้ากฎหมายดังกล่าวมิได้บัญญัติจำนวนคะแนนเสียงไว้ให้นำความในวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง แล้วแต่กรณี มาใช้บังคับโดยอนุโลม
คลิกที่ภาพ...เพื่อดูขนาดที่ใหญ่ขึ้น
@ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
คลิกที่ภาพ...เพื่อดูขนาดที่ใหญ่ขึ้น
By: ไทเพื่อไทย เว็บประชาทอล์ค: เมื่อนายกฯปูประกาศให้มีการออกเสียงประชามติ ขอให้คอยดูปรากฏการณ์ตามลำดับต่อไปนี้
1. ให้ผู้มีสิทธิออกเสียงหาเรื่องไปฟ้องศาลปกครอง
2. รณรงค์ไม่ให้ไปใช้ใช้สิทธิออกเสียงประชามติ
3. กล่าวหา กกต.ไม่เป็นกลาง
4. คะแนนเสียงประชามติเกินกึ่งหนึ่งเพียงเล็กน้อยจึงไม่ควรแก้ไขยกเลิกรัฐธรรมนูญ
5. หาเรื่องฟ้องศาลรัฐธรรมนูญถ่วงเวลาไปเรื่อยๆ
นี่คือชะตากรรมของประเทศในปีหน้าที่คาดหมายได้ครับ
@ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. ๒๕๕๒
คลิกที่ภาพ...เพื่อดูขนาดที่ใหญ่ขึ้น
คลิกที่ภาพ...เพื่อดูขนาดที่ใหญ่ขึ้น